ทำความรู้จัก Toyota New Global Architecture หรือ TNGA โครงสร้างใหม่จากโตโยต้า
- โดย : พิสน ลีละหุต
- 9 ต.ค. 61 00:00
- 18,070 อ่าน
หลังจากการเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปแล้ว กับรถยนต์ Crossover ที่หลายคนรอคอยอย่าง Toyota C-HR ที่ได้รับคำชื่นชมทั้งในเรื่องของหน้าตาและการขับขี่ไปได้อย่างมากมาย ยืนยันได้จากยอดขายที่มากกว่าเป้าหมายที่ทางโตโยต้าเองตั้งไว้ แต่อาจจะมีหลายคนที่ยังไม่รู้ว่า ถายใต้ดีไซน์ที่สวย และการขับขี่ที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับรุ่นก่อนหน้านี้ที่ทาง Toyota ได้ผลิตมา มันมาจากการที่ผลิตขึ้นมาภายใต้โครงสร้างให
แพลตฟอร์ม TNGA หรือเรียกกันเต็ม ๆ ว่า Toyota New Global Architecture ถือเป็นโครงสร้างใหม่ที่ทางโตโยต้าภูมิใจเป็นอย่างมาก ดังนั้นรถยนต์ใหม่ทุกคันที่จะออกมาใหม่หลังจากนี้เป็นต้นไป จะใช้โครงสร้างเดียวกันนี้ทั้งหมด รุ่นแรกที่ผลิตภายใต้แพลตฟอร์ม TNGA ก็คือ Toyota C-HR นั่นเอง ซึ่งทีมงาน AUTODEFT ก็เคยได้ทำการทดสอบไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ด้วยความที่เราเองอาจจะยังไม่เข้าใจว่า โครงสร้างใหม่แบบนี้มันมีรายละเอียดอย่าง ทางโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศทย จึงได้จัดกิจกรรม Toyota New Global Architecture (TNGA) Sensation Challenge เพื่อมาเพิ่มความรู้ให้กับบรรดาผู้สื่อข่าวสายยานยนต์ รวมทั้งยังให้ทดสอบสมรรถนะของ Toyota C-HR ในรูปแบบต่าง ๆ ที่สนาม TOYOTA Driving Experience Park กันซะเลย
ก่อนจะเริ่มทดสอบการขับขี่ เราต้องมาทำความเข้าใจกับโครงสร้างใหม่ TNGA กันซะก่อน โดยสถาปัตยกรรมโครงสร้างยานยนต์ใหม่ TNGA ถูกพัฒนาและออกแบบให้เป็นโครงสร้างพื้นฐาน ที่มีความแข็งแรงและมีจุดศูนย์ถ่วงที่ต่ำ ทำให้ตอบสนองต่อการขับขี่ที่ดีเยี่ยม การควบคุมบังคับรถที่แม่นยำ นุ่มนวลทุกสภาพถนน รวมถึงทัศนวิสัยการขับขี่ที่ดีกว่า ตลอดจนรูปลักษณ์ที่สวยงาม ซึ่งโตโยต้าได้นำสถาปัตยกรรมโครงสร้างใหม่นี้มาใช้ใน Toyota C-HR เป็นรุ่นแรก และจะนำมาใช้กับรถยนต์โตโยต้ารุ่นต่อ ๆ ไปในอนาคต โดยการออกแบบโครงสร้างใหม่ดังนี้
- Body rigidity - เพิ่มความมั่นคงของรถจากโครงสร้างเหล็กที่แข็งแกร่ง พร้อมเพิ่มจำนวนจุดเชื่อมตัวถัง (Spot welding) ช่วยรองรับแรงบิดที่มีต่อตัวถัง เพิ่มประสิทธิภาพในการทรงตัวและเกาะถนนมากยิ่งขึ้น
- Low center of gravity – จุดศูนย์ถ่วงต่ำลง ลดการโคลงตัวของรถ ช่วยเรื่องการทรงตัวและการเข้าโค้งดีขึ้น
- Double Wishbone Suspension ช่วงล่างด้านหลังแบบอิสระปีกนกคู่ เพิ่มความนุ่มนวลในการขับขี่ แต่ยังคงไว้ซึ่งการเกาะถนนที่ดีเยี่ยม
- Good Handling พวงมาลัยมีการปรับอัตราทดและ ECU ใหม่ ทำให้การตอบสนอง แม่นยำมากขึ้น เพื่อให้การควบคุมรถง่ายเป็นไปอย่างมั่นใจ
- STABILITY – จากโครงสร้างตัวถังที่มีความแข็งแรง ทำให้การควบคุมจากพวงมาลัยมีความแม่นยำ เกาะถนนได้ดีเยี่ยม เข้าโค้งได้อย่างมั่นใจ นอกจากนี้ด้วยช่วงล่างอิสระแบบ Double wishbone ยังช่วยเพิ่มความนุ่มนวลในการขับขี่
- AGILITY – ความคล่องตัวในทุกจังหวะการขับขี่ และการควบคุมได้ดั่งใจ เกิดจากการที่ตัวรถถูกออกแบบให้มีจุดศูนย์ถ่วงต่ำ ส่งผลให้การขับขี่ ที่สนุกมากขึ้น และสามารถขับลัดเลาะไปตามซอกซอยได้อย่างคล่องตัว
- VISIBILITY – จากการออกแบบให้ผู้ขับขี่เป็นศูนย์กลางของรถ พร้อมเพิ่มทัศนวิสัย และการลดจุดอับสายตาภายในห้องโดยสาร ด้วยการปรับกระจกด้านหน้าคนขับให้กว้างขึ้น และลดขนาดเสา เอ (A Pillar) ทั้ง 2 ด้านให้แคบลง ส่งผลให้ผู้ขับขี่สามารถมองวัตถุในมุมอับได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
- COMFORT – โครงสร้างรูปแบบใหม่ และช่วงล่างที่อิสระ สามารถลดแรงกระแทกจากพื้นถนนสู่ผู้โดยสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ความความนุ่มนวลทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ไม่เมื่อยล้าในการขับขี่ เพลิดเพลินในทุกการเดินทาง
สถาปัตยกรรมโครงสร้างยานยนต์ใหม่ (TNGA) จะเป็นการยกระดับของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของโตโยต้าเพื่อสร้างความสมบูรณ์แบบทุกการเคลื่อนไหว ผสานกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้แก่ ระบบไฮบริดเจนเนอเรชั่นที่ 4 (4th Generation Hybrid) มาตรฐานความปลอดภัยใหม่ระดับโลกของรถโตโยต้า (Toyota Safety Sense หรือ TSS) และ ระบบที่เชื่อมต่อรถและผู้ใช้รถให้เป็นหนึ่งเดียว (Toyota T-Connect Telematics)
หลังจากได้รับทราบข้อมูลจบเรียบร้อยแล้ว ก็ได้เวลาลงไปทดสอบในสนามเสียที โดยมีการจัดจุดทดสอบทั้งหมด 4 สถานีดังนี้ครับ
สถานีที่ 1 การทดสอบประสิทธิภาพการเลี้ยวในที่แคบ (วงเลี้ยวแคบสุดที่ 5.2 เมตร) และทัศนวิสัยของผู้ขับขี่ (Visibility) ในจุดอับสายตา บริเวณมุมด้านหน้าฝากระโปรงและกระจกมองข้าง กับเสาเอ (A Pillar) ทำให้สามารถเห็นอุปสรรคด้านหน้า และด้านข้างได้อย่างชัดเจน
สถานีที่ 2 การทดสอบความคล่องตัว (Agility) ผ่านการขับแบบสลาลม (Slalom) และการหักหลบฉุกเฉิน การตอบสนองของพวงมาลัย ร่วมกับโครงสร้างตัวถังที่แข็งแรง ผสานกับช่วงล่างอิสระแบบ Double wishbone ช่วยให้เข้าโค้งได้อย่างมั่นใจ เกาะถนน และทรงตัวได้อย่างดีเยี่ยม
สถานีที่ 3 การทดสอบความมั่นคง (Stability) ด้วยการขับในรูปแบบโค้งกว้าง ด้วยจุดศูนย์ถ่วง (Center of Gravity) ที่ต่ำลง ซึ่งมาจากการออกแบบชิ้นส่วนให้ต่ำลง เช่น เครื่องยนต์ และเกียร์ ส่งผลให้ตัวรถนิ่ง มีเสถียรภาพ ไม่เหวี่ยง หรือโคลง แม้เข้าโค้งในความเร็วสูง ทำให้ผู้ขับขี่มีความมั่นใจอย่างเต็มที่
สถานีที่ 4 การทดสอบความนุ่มนวลในการขับขี่ (Comfort) ผ่านการจำลองสถานการณ์ในการขับขี่ เช่น คอสะพานที่มีความชัน ผิวทางขรุขระ และลูกระนาด ด้วยการออกแบบช่วงล่างอิสระแบบ Double wishbone จึงทำเพิ่มความนุ่มนวลและดูดซับแรงกระแทกจากพื้นถนนกับผู้ขับขี่ได้อย่างดีเยี่ยม
โครงสร้าง TNGA จะกลายเป็นแพลตฟอร์มมาตรฐานของรถยนต์ใหม่จากโตโยต้านับจากนี้ไป และแน่นอนว่า การมาของ Toyota Camry รถยนต์ซีดานสุดหรู ที่กำลังจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการช่วงปลายเดือนนี้ ก็ใช้โครงสร้าง TNGA นี้เช่นกัน
ติดตามข่าวสารรถยนต์รวดเร็วก่อนใครได้ที่ AUTODEFT.com