Deft Scoop : เส้นจราจร... สิ่งที่รัฐต้องคิดมากกว่าแค่เครื่องหมายบนถนน
- โดย : Autodeft
- 13 มิ.ย. 59 00:00
- 8,962 อ่าน
ทุกวันนี้เทคโนโลยีต่างๆบนรถยนต์ต่างก้าวล้ำไปอย่างมาก จนเราหลายคนกำลังก้าวเข้าสู่ยุคที่อีกไม่กี่ปีข้างหน้า เราอาจจะแค่ขึ้นรถแล้วปล่อยมันขับได้เองจากบ้านไปจนถึงที่ทำงาน คุณอาจจะไปสัปหงกบนรถได้ โดยไม่ต้องมาบ่นอะไรวุ่นวาย เรากำลังจะใกล้ถึงในเวลานั้นในชั่วชีวิตนี้ แต่อย่างหนึ่งที่หลายคนอาจจะไม่ทราบมาก่อนคงหนีไม่พ้นระบบสนับสนุนเทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้ และมันอยู่เพียงเอื้อมมือที่ต้องอาศัยวงจรภาครัฐบาลเข้า
เส้นเครื่องหมายจราจรอาจจะเป็นที่คุณเคยกันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเส้นประ เส้นทึบ หรืออะไรต่างๆ ที่พยายามบอกว่า คุณกำลังขับรถอยู่ในสภาวการณ์เช่นใด และมีข้อควรปฏิบัติอย่างไร เส้นจราจรเหล่านี้ปัจจุบันในประเทศไทยได้รับการใส่ใจน้อยมาก การทำนุบำรุงรักษาไว้ซึ่งกฎขั้นพื้นฐานในการขับรถกำลังถูกละเลย จนอาจจะทำให้เราพลาดโอกาสได้ใช้เทคโนดลยีที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่นานนี้
[IMAGE1]
ทุกวันนี้สิ่งที่ภาครัฐไม่ได้ใส่ใจกำลังเป็นกฎที่เครื่องมือทันสมัยบนรถยนต์หลายรุ่นใช้มันเป็นเครื่องมอืในการสร้างความสะดวกสบายในการขับขี่ ระบบกล้องตัวจับ เซนเซอร์ และเรดาห์ ต่างทำงานบนระบบง่ายๆ อย่างเส้นจราจร และทำให้เครื่องหมายบนถนนต่างที่เราเห็นนั้นจะไม่ใชเพียงเครื่องหมายอย่างเดียวอีกต่อไป แต่จะเป็นเครื่องมือในการชี้นำการเดินทางของรถยนต์รุ่นใหม่ ทั้งระบบขับอัตโนมัติ หรือระบบช่วยเหลือในการขับขี่ทั้งหลาย
ระบบความปลอกดภัยประเภท Active Safety หรือ ระบบป้องกันความปลอดภัยที่ทำงานตลอดเวลาบางระบบจะยึดการทำงานจากเส้นจราจรเป็นสำคัญ อาทิ ระบบ Lane Keeping Assisted หรือ ระบบป้องกันหลุดเลน ในการขับขี่ ต่างอาศัยเส้นจราจรในการทำงาน และโดยมาก ผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่จะเตือนและมีเงื่อนไขในการใช้ระบบว่าจะต้องใช้ในถนนเส้นในการทำงาน และรถที่ชาญฉลาดบางรุ่นจะไม่ทำงานเมื่อระบบไม่ตรวจเจอเส้นถนน
[IMAGE2]
[IMAGE3]
ภาพระหว่างการทำงานของระบบ Pilot Assisted ในรถยนต์ Volvo XC 90 ใหม่
ในระหว่างการทดสอบรถยนต์อเนกประสงค์ Volvo XC90 D5 เมื่อเร็วนี้ ผมมีโอกาสได้ทดลองระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติย่อมๆที่เรียกว่า Pilot Assisted มันเป็นระบบที่รถจะขับตามรถคันหน้า โดยยึดเส้นจราจรเป็นหลัก แต่ปัญหาหลักในบ้านเราที่พบเจอบ่อยคือเส้นจราจรจาง และระบบไม่ทำงาน
ตลอดจนหลายครั้งเส้นจราจรมีการเปลี่ยนแปลง เช่น เปลี่ยนเส้นทางการเดินรถจากเดิม แล้วไม่มีการลบเส้นเก่าออก หรือ มีการตีเส้นใหม่ทับเส้นเก่า ทำให้เส้นจราจรเพี้ยนไปจากเดิม ไปจนถึงเส้นจราจรบิดเบี้ยวไม่ได้ช่องทาง อาจกว้างหรือแคบไป หรือ บางถนนเส้นจราจรที่เปลี่ยนใหม่ อาจจะทำให้ผู้ขับขี่เกิดการสับสนช่องทาง ตามที่ควรจะเป็น และถ้าคนยังสับสน คุณคิดว่าเครื่องจักรจะเหลือหรือ ...มันเป็นเรื่องที่น่าคิดไม่น้อย
ถึงรัฐบาลหรือหน่อยงานที่เกี่ยวข้องจะมองว่าเส้นจราจรจะทำก็แค่ทางสีมันให้รู้ว่ารถเดินทางไหน แต่ปัจจุบัน เส้นจราจรเป็นมากกว่านั้น มันคือการแสดงกฎการบังคับใช้กฎหมายที่จริงจัง คือระบบพื้นฐานที่ระบบอันทันสมัยในรถยนต์ปัจจุบันต้องพึ่งพา มันถึงเวลาหรือยังที่รัฐต้องมองคำว่า เส้นจราจร มากกว่า แค่คำว่าเส้นจราจร เพราะอนาคตรถยนต์สุดทันสมัยอาจต้องพึ่งพาพวกมันเพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในการขับขี่
เรื่อง โดย ณัฐยศ ชูบรรจง (Bonn)
ติดตามผู้สื่อข่าวและนักทดสอบรถยนต์ นาย ณัฐยศ ชูบรรจง ได้ที่ Facebook หรือ ทาง Fan page ,Twiter (@Nattayosc), Blog ส่วนตัว
ติดตามข่าวสารยานยนต์ รวดเร็วก่อนใคร ได้ที่ Autodeft.com