ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต อีกก้าวย่างของวงการมอเตอร์สปอร์ตไทย

  • โดย : Autodeft
  • 10 ก.ย. 57 00:00
  • 9,412 อ่าน

เปิดแล้วอย่างเป็นทางการ สนามบุรีรัมย์ อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต นี่คือที่หมายปลายทางผู้รักความเร็ว ที่พร้อมต่อยอดความฝันวงการมอเตอร์สปอร์ตไทย

 

 

มอเตอร์สปอร์ต หรือที่ศัพท์ ภาษาไทยเราเรียกว่าก๊ฬายานยนต์นัน้ ตั้งแต่อดีตมาจวบจนปัจจุบัน เราคงต้องยอมรับว่า ก๊ฬาแห่งความเร็วนี้เป็นที่รู้จักของคนไทยในระดับหนึ่ง แต่จะว่าไป พวกมันยังถูกขับเคลื่อนไม่ได้เต็มที่นัก อาจจะด้วยปัจจัยหลายๆ อย่าง แต่หนึ่งในนั้น คงไม่พ้นเรื่องของที่ทาง ที่ยังทำให้วงการแข่งรถยนต์นั้นไม่สามารถก้าวสู่แถวหน้าระดับโลกได้

ช่วงสองปีที่ผ่านมา เมืองไทยดูจะเป็นที่จับตาของหลายคน โดยเฉพาะจังหวัดบุรีรัมย์ ที่ต่อไปจะถูกตราบนแผนที่ว่าที่นี่คือศูนย์รวมของคอคนรักความเร็ว ที่ต้องการจะทดสอบทักษะ หรือรถยนต์ที่ตัวเองขับขี่ เมื่อมีข่าวคราวว่า บุรีรัมย์จะมีสนามแข่งรถยนต์ระดับโลกที่มาพร้อมมาตรฐานในการแข่งขันที่รองรับมาตรฐานชั้นนำระดับแถวหน้าระดับโลก ไม่ว่าจะสองล้อ หรือ สี่ล้อ นี่คือที่หมายใหม่ในเมืองไทย

เล่าย้อนความไป คุณ เนวิน ชิดชอบ ในฐานะ ประธานที่ปรึกษาโครงการสนามแข่งรถบุรีรัมย์ อินเตอร์เนชั่นแรล เซอร์กิต หรือ  BRIC  ซึ่งในตอนนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น  Chang International Circuit  ผู้สนับสนุนรายใหญ่ของสนาม ที่ได้เล่าแบบติดตลกให้ฟัง ถึงที่มาของสนาม  BRIC  ว่า

“โครงการนี้ เกิดจากการคบเด็กสร้างบ้าน” เขาพูดพลางหัวเราะ “ทีแรกก็เป็นการเล่นกัน ระหว่างผมกับหลานชาย ที่ชอบมอเตอร์ไซค์ กเอาอิฐมาเรียงเล่นกัน ขี่กันหลังสนามฟุตบอล กันสนุกสนาน แต่ก็ได้ไม่นานนัก หลานบอก “อา” เราควรจะต้องขับในสนามมีสนามเพื่อจะได้สนุกยิ่งขึ้น ว่าแล้ว โครงการนี้ก็เกิดจากตรงนั้น ”

จากโครงการที่คาดว่าจะใช้ที่เพียงไม่กี่ร้อยไร่ ก็เริ่มกลายเป็นโครงการใหญ่ขึ้น  โดยเฉพาะเมื่อไปเอานักออกแบบสนามแข่งระดับโลกมาทำการเริ่มโครงการ จากนั้น มันก็เป็นโครงการที่ไม่เพียงบุรีรัมย์ แต่ทั้งประเทศต้องจับตา เพราะครั้งนี้ในมมุมมองของหลายคน ตลอดจนกูรูในวงการรถยนต์ มันเหมือนการสตาร์ทเครื่องยนต์วงการมอเตอร์สปอร์ตอีกครั้ง ใส่เกียร์เดินหน้าสู่เวทีโลก ทำให้คนรู้จักคนไทยในวงการความเร็วอย่างจริงจัง คนที่สนใจก็มีที่ซึ่งจะฝึกปรืออย่างถูกต้อง

ซึ่งคุณเนวินกล่าวเปิดเผยว่า  "การสร้างสนามแข่งรถระดับนี้ ผมถือว่าเราได้สร้างโอกาสพัฒนาให้กับคนไทยในการที่มีสนามระดับโลก โดยตั้งเป้าภายใน 5 ปี จะมีนักแข่งไทยขึ้นไปโลดแล่น พร้อมยืนยันถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด ในเดือน มี.ค.ปีหน้า จะมีรายการศึกรถจักรยานยนต์ เวิลด์ ซูเปอร์ไบค์ มาแข่งขันที่นี่อย่างแน่นอน อีกทั้งจะทำให้สนามแข่งรถ "ช้าง อินเตอร์เนชันแนล เซอร์กิต (CIC)" ให้เป็นสนามอันดับ 1 ในเอเชียให้ได้ ถึงแม้จะไม่ได้ใช่อันดับ 1 ของโลก

ก้าวย่างนี้ถือเป็นโอกาสที่สำคัญอย่างยิ่งในการทำให้เมืองไทยมีสนามแข่งรถยนต์ชั้นนำระดับแถวหน้าในโลก ที่ซึ่งจะสามารถดึงดูด คนที่มีทักษะความเร็วมาแข่งขัน อย่างเช่น รายการแข่งขันรถยนต์ชั้นแนวหน้าจากญี่ปุ่น  Super GT  ที่เตรียมมาลงทำความเร็วในสนามแห่งนี้ ในวันที่ 4-5  ตุลาคม ปีนี้อย่างแน่นอน

สนามแข่งที่มาตรฐานระดับโลก นั้นต่างครบครันไปด้วยสิ่งต่างที่ให้นิยามมาตรฐานของคำว่าสนามแข่งระดับโลก เช่น ลานจอดเฮลิคอปเตอร์พยาบาล ที่เตรียมพร้อมเสมอ เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน

แต่ไฮไลท์สำคัญ ภายใต้ทุนสองพันล้านบาท ที่ลงไปกับสนาม ช้างอินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิตนี้ อยู่ที่ความสำคัญต่ออรรถรสในการชมการแข่งขันความเร็ว ที่ซึงสแตนหลักจะสามารถเห็นทุกมุมการแข่งขันในสนาม ทั้งยังสามารถจุได้ถึง  50,000 คน และที่สำคัญคือระบบควบคุมการแข่งขันหรือ  Race Control ที่ทันสมัยที่สุดในโลก ณ เวลานี้ ที่ลงทุนเฉพาะส่วนนี้กว่า 500 ล้านบาท

หากที่สำคัญที่สุดบนสนาม อยู่ที่การเนรมิตที่กว่า 1,200 ไร่ ให้เป็นสนามแข่งรถยนต์มาตรฐานระดับโลก โดยมีระยะต่อรอบท รอบ 4.554 กม. ทิศทางการวิ่งแบบตามเข็มนาฬิกา ประกอบด้วยจำนวนโค้งทั้งสิ้น 12 โค้งขวา 7 โค้ง และ ซ้าย 5 โค้ง                               

โดยไฮไลต์ของแทร็กมีอยู่ 5 จุด คือ ทางตรงยาวระยะทาง 1 กิโลเมตร สามารถทำความเร็วในรถระดับทัวริ่งคาร์ได้ถึง 315 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และ 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในรถมอเตอร์ไซค์ ซูเปอร์ไบค์ โดยจุดนี้ถือเป็นจุดท้าทายนักขับในการหาจุดเบรกในการแซง

ถัดมาคือโค้ง 4 เป็นโค้งซ้ายความเร็วสูงที่นักขับสามารถเข้าโค้งด้วยความเร็วระดับ 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะเดียวกันก็จะต้องต่อสู้กับแรงเหวี่ยงอันมหาศาลในโค้งนี้ ตามด้วยโค้ง 7 เป็นโค้งหักขวา 70 องศา ที่ฝังอยู่ด้วยโค้งเล็กๆ อีก 2 โค้งในจุดนี้ และถือเป็นอีกหนึ่งโค้งความเร็วสูงของ BRIC ซึ่งรถแข่งระดับทัวริ่งคาร์และมอเตอร์ไซค์ซูเปอร์ไบค์ สามารถรักษาความเร็วได้ในระดับ 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในช่วงออกจากโค้ง 7 นี้ รวมไปถึงโค้ง 9 และ 10 ที่มีความต่อเนื่องกัน นักขับต้องใช้ไหวพริบอย่างมากในการขับจุดนี้ เพื่อต่อเนื่องไปยังโค้ง 12 โค้งแฮร์พิน หรือ โค้งยูเทิร์นหักศอกขวา 126 องศา ถือเป็นจุดไฮไลต์ของ BRIC สำหรับการแซงโดยนักแข่งสามารถเลือกเรซซิ่งไลน์ของตัวเองได้ตามความเหมาะสมก่อนจะหาจังหวะแซง

ความพิเศษของ ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ยังรวมไปถึงการออกแบบให้มีบ่อน้ำภายในบริเวณแทร็ก เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศ เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองร้อน ขณะเดียวกันยังติดตั้งระบบไฟส่องสว่างมาตรฐานเอฟไอเอ ซึ่งรองรับการแข่งขันกลางคืน หรือ ไนต์เรซ

รวมถึงยังมีพิตระดับมาตรฐานถึง 30 พิต รองรับความต้องการด้านการทำงานของทีมแข่งทุกระดับ โดยบริเวณด้านบนพิตถูกสร้างเป็นแพ็ดด็อก สำหรับกลุ่มผู้ชมระดับวีไอพี รวมไปถึงชั้นบนสุดที่ถูกสร้างเป็นสแตนด์อีกชั้น เพื่อให้แฟนมอเตอร์สปอร์ตได้สัมผัสการทำงานของทีมแข่งอย่างใกล้ชิด

 

การเปิดตัวอย่างเป็นทากงารสนามบุรีรัมย์ อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต หรือที่ตอนนี้ เราคงต้องเรียกชื่อใหม่ว่า ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซฮร์กิตนั้น ต้องเรียกว่าเป็นก้าวย่างที่สำคัญ ของการที่วงการมอเตอร์สปอร์ตเมืองไทย จะได้รุดหน้าในด้านศักยภาพมากขึ้น และไม่ต้องสงสัยเลยว่า นอกจากวงการกีฬายานยนต์จะก้าวไกล มันหมายถึงภาคธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ที่จะมีสนามทดสอบระดับโลกไปด้วยพร้อมกัน จนทำให้ที่นี่คือปลายทางของผู้รักความเร็ว หรือที่พวกเขานิยามว่า  Destination of Speed

ติดตามข่าวสารยานยนต์ รวดเร็วก่อนใคร ได้ที่ Autodeft.com


[GALLERY737]

5 เรื่องน่าสนใจ