ผลกระทบต่อแบรนด์รถไฟฟ้าต่าง ๆ ที่ได้รับหลังจากการตั้งภาษีกีดกันของทางสหภาพยุโรป
- โดย : พิสน ลีละหุต
- 11 ก.ค. 67 11:21
- 1,859 อ่าน
EU หรือสหภาพยุโรป ได้ทำการเพิ่มภาษีรถไฟฟ้าที่นำเข้าจากจีน เพื่อกีดกันการตั้งราคาจำหน่ายต่ำ โดยเริ่มใช้งานในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ผลกระทบนี้ส่งผลกับค่ายไหนอย่างไรบ้าง
Tesla
ค่ายรถไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดที่นำเข้ารถใหม่จากจีนไปยังยุโรป คาดกันว่าน่าจะมีการขึ้นราคา Tesla Model 3 ในเร็ว ๆ นี้ หลังโดนกำแพงภาษี
SAIC Motor
ค่ายรถไฟฟ้าจีนที่ถูกเก็บภาษีสูงสุดถึง 37.6% หลังที่ไม่ให้ความร่วมมือในการสอบสวนที่ผ่านมา แต่ทางค่ายบอกว่า รถจะยังมีสต๊อกมากพอที่จะจำหน่ายแบบไม่ขึ้นราคาได้ เพราะมาตรการนี้จะอยู่ชั่วคราวแค่เพียง 4 เดือนก่อนเท่านั้น
BYD
ค่ายนี้ถูกเรียกเก็บภาษีเพียงแค่ 17.4% อย่างไรก็ตาม ทาง BYD เองมีแผนสำรองที่จะสร้างโรงงานผลิตแห่งใหม่ในฮังการี และอีกแห่งในเฟสต่อไปที่ตุรกี
Chery
มีแผนที่จะร่วมทุนกับ EV Motors ในประเทศสเปน โดยกำลังพิจารณาในการสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแห่งใหม่ในยุโรปอีกแห่ง
Polestar
ค่ายรถไฟฟ้าในเครือของ Volvo ที่เจ้าของเป็น Geely บริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ในจีน จะใช้วิธีการลดต้นทุนในการผลิตแทน
GWM
ยังไม่มีทีท่าในการตอบสนองของการขึ้นภาษีครั้งนี้ แต่มีการเปิดเผยถึงแผนที่จะสร้างโรงงานแห่งหนึ่งในยุโรป ซึ่งการประกาศนี้ เกิดขึ้นหลังจากที่ GWM ได้ทำการเตรียมปิดสำนักงานในทวีปยุโรป โดยเลิกจ้างพนักงานครั้งเดียว 100 คน ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ทาง EU มีการเตรียมการขึ้นภาษีเพื่อกีดกันรถไฟฟ้าที่นำเข้าจากประเทศจีน
NIO
รถไฟฟ้าแบรนด์หรูจากจีน ถูกเรียกเก็บภาษี 20.8% ทำให้อาจจะต้องขึ้นราคาจำหน่ายในช่วงปลายปีนี้
BMW
บีเอ็มดับเบิ้ลยู ใช้โรงงานในประเทศจีนทำการผลิตรถไฟฟ้า Mini ในประเทศจีน แต่มาตรการนี้ทำให้ถูกเรียกเก็บภาษีสูงถึง 20.8% ซึ่ง Oliver Zipse ซีอีโอของ BMW ได้กล่าวว่า การสร้างกำแพงภาษีแบบนี้ ไม่ได้ช่วยความสามารถในการแข่งขันผู้ผลิตในยุโรปได้ ในทางตรงกันข้าม มันไม่เพียงแต่ส่งผลเสียต่อรูปแบบธุรกิจของบริษัทที่ดำเนินกิจการทั่วโลกเท่านั้น แต่ยังจำกัดการจัดหารถยนต์ไฟฟ้าให้กับลูกค้าในยุโรป และอาจชะลอการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในภาคการขนส่งให้ช้าลงด้วยซ้ำ มาตรการดังกล่าวละเมิดหลักการการค้าเสรีของทาง EU อย่างมากด้วยเช่นกัน
ข้อมูลจาก Drive
ติดตามข่าวสารรถยนต์รวดเร็วก่อนใครได้ที่ AUTODEFT.com