NAPAC Fuji SUPER TEC 24 Hours การแข่งขันเพื่อความแกร่งและความยั่งยืนด้านพลังงานของรถยนต์

  • โดย : พิสน ลีละหุต
  • 29 พ.ค. 67 14:58
  • 2,244 อ่าน

การแข่งขันรถยนต์ส่วนใหญ่แล้ว เป็นการแข่งเพื่อพิสูจน์เรื่องความสุดยอดของตัวรถ, นักแข่ง และทีมงานในการพัฒนารถ แต่มีบางรายการที่นอกจากพิสูจน์เรื่องนี้แล้ว ยังจัดเพื่อการพัฒนารถยนต์เพื่อความยั่งยืนด้านพลังงานด้วย

NAPAC Fuji SUPER TEC 24 Hours

NAPAC Fuji SUPER TEC 24 Hours เป็น 1 ในรายการแข่งขันของ Super Taikyu Series 2024 ที่จัดแข่งขึ้นในประเทศญี่ปุ่น และเป็นรายการแข่งขันรายการเดียว ที่แข่งในรูปแบบ Endurance 24 ชั่วโมง ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง มีค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นมากมายเข้ามาร่วมการแข่งขันรายการนี้ ซึ่งผู้จัดการแข่งขัน ก็คือค่ายรถตัวพ่อของประเทศญี่ปุ่นอย่าง Toyota นั่นเอง

NAPAC Fuji SUPER TEC 24 Hours

รอบนี้ ผมในฐานะตัวแทนของทีมงาน AUTODEFT ได้รับเชิญจากทาง Toyota Motor Thailand ในการเดินทางไปร่วมชมการแข่งขันนี้ที่ประเทศญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน ซึ่ง NAPAC Fuji SUPER TEC 24 Hours เป็นการแข่งขันสนามที่ 2 ของรายการ Super Taikyu Series 2024 และจะมีทีม ORC ROOKIE Racing ทีมี Morizo หรือท่านประธานโตโยต้า Akio Toyoda ร่วมลงทำการแข่งขันด้วย

NAPAC Fuji SUPER TEC 24 Hours

ก่อนเริ่มการแข่งขัน เราได้มีโอกาสพิเศษในการสัมภาษณ์ท่านประธาน Akio Toyoda หรือที่ท่านมารอบนี้ในฐานะ Morizo ด้วยตัวเองแบบ Exclusive แก่นักข่าวจากประเทศไทยทั้งคณะ โดยมีการเริ่มต้นคำถามว่า คาดหวังอย่างไรบ้างกับการแข่งขันในครั้งนี้ ท่านได้ให้คำตอบว่า ปีนี้มีการส่งรถแข่งเพื่อทำการแข่งขันรวม 3 คัน คือหมายเลข 1 ที่เป็นแชมป์เมื่อปีที่แล้ว ก็ยังคาดหวังจะได้แชมป์เหมือนเดิม

NAPAC Fuji SUPER TEC 24 Hours

ส่วนคันที่ 2 หมายเลข 28 ซึ่งเป็นรถ Toyota GR86 ซึ่ง เป็นรถที่ใช้เชื้อเพลิงแบบที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Biofuel ผลิตขึ้นมาจากพืช หรือขยะจากธรรมชาติ สังเคราะห์ออกมาเพื่อใช้แทนเชื้อเพลิงแบบฟอสซิล ไร้มลพิษเมื่อทำการเผาไหม้ผ่านทางเครื่องยนต์ 1.6 ลิตร Turbo ซึ่งรถแข่งคันนี้ ก็เคยนำมาวิ่งทำการแข่งขันในประเทศไทยมาแล้ว

NAPAC Fuji SUPER TEC 24 Hours

อีกคันหนึ่ง หมายเลข 32 เป็น Toyota GR Corolla ที่เป็นเครื่องยนต์ 1.6 ลิตร Turbo แต่เชื้อเพลิงที่ใช้ฉีดเข้าไปในห้องจุดระเบิดนั้น เป็นเชื้อเพลิงแบบ Hydrogen เหลว ซึ่งจะเป็นปีแรกที่ใช้รูปแบบไฮโดรเจนเหลว เพราะครั้งที่นำมาใช้กับการแข่งขันในประเทศไทย ยังเป็นแบบก๊าซอยู่ ซึ่งทั้ง 2 คันนี้ ไม่ได้คาดหวังผลงานอะไรมากมาย ทำการลงแข่งขันครั้งนี้เพื่อ ต้องการเปลี่ยนอนาคต ข้อมูลที่ได้ระหว่างการแข่งขัน ยิ่งมากเท่าไรจะยิ่งดีเท่านั้น ซึ่งตัวท่านเอง ก็จะทำการลงแข่งขันบนรถหมายเลข 32 ด้วยเช่นกัน

NAPAC Fuji SUPER TEC 24 Hours

นอกจากนี้ Morizo ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ได้สร้างตัวเลือกที่หลากหลายด้านความเป็นกลางทางคาร์บอนตั้งแต่เมื่อ 3 ปีก่อนโดยการใช้รถ 2 คันนี้มาทดสอบในสนามแข่งจริง เพื่อแสดงให้เห็นถึงตัวเลือกที่หลากหลาย 3 ปีผ่านไป มีคนที่เห็นด้วยกับแนวคิดพวกเรามาเป็นเพื่อนเรามากขึ้น และในครั้งนี้ เราก็ต้องการที่จะหาเพื่อนให้มากขึ้นเช่นกัน ซึ่งในการแข่งขันรอบนี้ ก็เริ่มมีหลายค่ายเข้ามาแข่งขัน เช่น Subaru, Mazda ก็พยายามให้การสนับสนุนเรื่องความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Nissan, Honda และผู้ผลิตอื่นก็เข้ามาร่วมที่จะลด CO2 ด้วยเช่นกัน

NAPAC Fuji SUPER TEC 24 Hours

โดยการแข่งขันรายการนี้ Morizo ได้บอกเอาไว้อีกว่า ต้องการเปลี่ยนอนาคต ข้อมูลที่ได้ระหว่างการแข่งขัน ยิ่งมากเท่าไรจะยิ่งดีเท่านั้น เราจึงอยากจะวิ่งให้นานที่สุดแม้วินาทีเดียว หรือไกลที่สุดแม้เมตรเดียวก็ตาม นอกจากนี้ยังอยากให้สังเกตว่า Pit ของรถ Toyota ทีม ORC ROOKIE Racing ถ้าเปรียบเทียบกับ Pit ทั่วไปจะเงียบกว่ามาก เพราะมีการใช้ไฟฟ้าที่ได้จากเชื้อเพลิงไฮโดรเจนมาใช้งาน และเครื่องที่ใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้า ก็คือผ่านทางรถยนต์แบบ FCEV อย่าง Toyota Mirai นั่นเอง มีการเก็บข้อมูลว่า 3 ปีที่ทำการแข่งขันรายการนี้ ได้ใช้ไฮโดรเจนไปเท่าไร พบว่าเท่ากับปริมาณไฟฟ้า 1 ปีที่ 1 ครัวเรือนทั่วไปใช้จริง กล่าวคือเรามาแข่ง 6 ครั้ง เราได้พิสูจน์ว่าเป็นการใช้ไฮโดรเจนผลิตไฟฟ้าเท่ากับไฟฟ้าที่ 1 ครัวเรือนใช้ไป 365 วัน นอกจากนี้ การใช้ไฮโดรเจนใน 6 สนามแข่งนี้เทียบเท่ากับการลดการปล่อย CO2 ของ 1 ครัวเรือนที่ปล่อยออกมา 3 ปี เหล่านี้เป็นข้อมูลที่เราพิสูจน์ได้จากการลงแข่งที่ผ่านมา

NAPAC Fuji SUPER TEC 24 Hours

จากบทสัมภาษณ์นั้น ทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ทาง Toyota เอง ในฐานะผู้จัดการแข่งขันในรอบนี้ นอกจากจะสร้างความสนุกสนานให้กับผู้เข้าชม, วัดความเก่งของนักแข่ง, วัดความเจ๋งของทีมงานผู้สร้างรถ รวมถึงวัดความแกร่งของตัวรถด้วยเช่นกัน แต่สิ่งที่ได้เพิ่มขึ้นมาก็คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แน่นอนว่ารอบนี้เน้นไปที่เรื่องการใช้พลังงานรูปแบบ Carbon Neutral ผ่านเชื้อเพลิงแบบ Hydrogen และ Biofuel ซึ่งก็มีการตั้งคำถามกับทาง Morizo ด้วยเช่นกันว่า เทคโนโลยีใหม่ที่ใส่มากับรถแข่งในปีนี้มันใกล้ที่จะใช้กับรถจริงแล้วหรือยัง ก็ได้คำตอบมาว่า “เราพยายามพัฒนาเทคโนโลยีให้ใช้ได้ในอนาคต เครื่องยนต์ไฮโดรเจนก็เหมือนกับรถไฟฟ้า EV คือต้องมีความพร้อมทั้งเทคโนโลยีในตัวรถและความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ไม่อย่างนั้นคงไม่สามารถใช้ได้จริง การที่เรามาเปิดตัวเทคโนโลยีในครั้งนี้ ก็เพื่อให้คนที่เห็นด้วยกับเรามาเป็นเพื่อนเราพัฒนากันเพิ่มมากขึ้น เราก็หวังให้ทุกท่าน คนในเอเชียโดยเฉพาะประเทศไทยมาร่วมกันสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนให้หลากหลายเพื่ออนาคตของพวกเรา”

NAPAC Fuji SUPER TEC 24 Hours

ติดตามข่าวสารรถยนต์รวดเร็วก่อนใครได้ที่ AUTODEFT.com

5 เรื่องน่าสนใจ