มาเลเซีย มาแรง!! ปรับแผน ปั้นตัวเองเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์ไฮบริด/ไฟฟ้าในภูมิภาค
- โดย : Autodeft
- 28 ม.ค. 57 00:00
- 8,918 อ่าน
มาเลเซียท้าทายอุตรถยนต์ไทย-อินโด เตรียมลดกำแพงภาษีหวังทำรถยนต์ใช้พลังงานมีประสิทธิภาพ คาดเป็นไฮบริดหรือรถไฟฟ้า
เมื่อพุดถึงรถยนต์ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีเม็ดเงินหลายล้านหมุนเวียนทั้งปี แทบปฏิเสธไม่ได้ว่า มีหลายประเทศที่สนใจธุรกิจอุตสาหกรรมรถยนต์ ทั้งในบ้านเราที่เคยตั้งตัวเป็น Detroit of Asia ไปจนถึงเพื่อนบ้านอินโดนีเซียที่ปรับตัวตีตื้นขึ้นมาในกลุ่มรถยนต์อเนกประสงค์ เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา
ภาพรวมในหลายๆด้านของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย อาจจะมีภาษีดีกว่าอินโดนีเซีย แต่ ถ้าเรากำลังจะถูกมาเลเซียเพื่อนบ้านเข้ามาตีท้ายครัวอุตสาหกรรมยานยนต์คงจะต้องหวั่นใจบ้างพอสมควร เพราะพวกเขารั้งในตำแหน่งส่งออกรถยนต์อันดับที่ 3 ในภูมิภาค
เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ทีผ่านมา มาเลเซียเขย่าอุตสาหกรรมยานยนต์ภายในประเทศด้วยการประกาศแผนใหม่ของ นโยบายรถยนต์แห่งชาติ หรือ National Automotive Policy (NAP) ซึ่งจะมีกรปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ใหม่ทั้งระบบ ซึ่งหากผ่านการเห็นชอบจากรัฐมนตรีการค้าและอุตสาหกรรมก้จะมีผลทันที
แง่หลักของการแก้นดยบายดังกล่าวเกอดขึ้นจากการที่ต้องการให้ในประเทศมีรถยนตืที่มีราคาถูกลงจากเดิม เช่นเดียวกับเพิ่มการจ้างงานในเขตอุตสาหกรรมปุตราจายา ซึ่งเดิมทีค่ายรถยนต์ต่างชาติอนุญาตให้ผลิตรถยนต์ในประเทศได้ โดยต้องมีเครื่องยนต์ขนาดมากกว่า 1.8 ลิตร หรือ 1800 ซีซี แต่นโยบายใหม่ที่ประกาศออกมาจะมีผลในการปลดล็อคเรื่องดังกล่าว ทั้งยังผลักดันให้เข้ามาผลิตรถยนต์ที่มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ หรือ energy-efficient vehicles (EEVs)
แม้ถึงตอนนี้จะยังไม่มีการเปิดเผยเรื่องสเป็คอย่างเป็นทางการของรถยนต์ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพตามที่รัฐบาลของมาเลเซียประกาศออกมาตามนโยบายใหม่ล่าสุด แต่มีความเชื่อว่าเจ้ารถยนต์ที่ว่านี้ น่าจะหมายถึงรถยนต์ไฮบริดและหรือรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า
แต่ตามการรายงานของสื่อในประเทศ ระบุว่า นโยบายใหม่ของมาเลเซียมีความเป็นไปได้ ที่ค่ายรถยนต์ที่จะมาร่วมลงทุนในนโยบายใหม่ จะต้องผ่านการคัดเลือกจากรัฐบาลและมีความเป็นไปได้สูงที่ มาเลเซีย อาจจะนำวิธีการเดียวกับที่จีนใช้ ตอนเปิดประเทศรับอุตสาหกรรมรถยนต์เข้าไปมาใช้ ด้วยการให้ค่ายรถยนต์ ร่วมมือกับบริษัทรถยนต์ในประเทศ ซึ่งอาจจะไม่ต้องลงทุนในประเทศ แต่อาจจะต้องเปิดเผยสิทธิบัตรของพวกเขาแทน
ทว่ารัฐบาลมาเลเซียก็ยังต้องท้าทายกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อตลาด เช่นรถมือสองที่มีราคาตกรุนแรงมากในมาเลเซีย และการที่รัฐบาลสนับสนุนให้ต่างชาติเข้ามาผลิตจะเสื่อมราคาลงอย่างรวดเร็วและอาจหมายถึง พวกมันจะไร้ค่าในท้ายที่สุด
ด้านสมาคมตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ Proton ใน มาเลเซีย ออกตอบโต้แผนใหม่ของรัฐบาลในทันที โดยระบุว่าแผนของรัฐบาลยังไม่มีความชัดเจน รวมถึงการช่วยเหลือผู้ค้ารถภายในประเทศ รวมถึงผู้ผลิตภายในประเทศเอง โดยแถลงการณ์กล่าวว่า
“เราสนับสนุนนโยบายในการทำให้รถมีราคาถูกลง แต่ก็ควรที่จะมีการสนับสนุนผู้ผลิตในประเทศ ซึ่งมีการวิจัยและพัฒนารถยนต์ด้วยตัวเอง รวมถึงต้องมีกรอบการทำงานและหนทางที่ชัดเจน สำหรับรถยนต์แห่งชาติในอนาคตด้วย”
ทางด้านค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ Toyota UMW ในมาเลเซียออกมากล่าวยินดีในการตัดสินใจของรัฐบาล แต่ก็ยังต้องการรายละเอียดทางเทคนิคที่ชัดเจนของโครงการรถยนต์ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ Toyota เชื่อว่าแผนนี้จะทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในมาเลเซียได้รับประโยชน์
การวางแผนครั้งนี้ อาจจะเป็นการเตะตัดขาประเทศ ไทย รวมถึงอินโดนีเซีย ยิ่งในประเทศไทยกำลังถูกโจมตีอย่างหนักจากสถานการณ์ทางการเมืองที่สั่นคลอน โดย Toyota Motor Cooperation เพิ่งเผยหลังพวกขาครองแชมป์ในปีที่ผ่านมา ในภูมิภาคเอเซียนมียอดที่ลดลงอย่างต่อเนื่องส่วนหนึ่งมาจากการตกต่ำลงของยอดขายในประเทศไทยเอง
ถ้ามองย้อนในอดีตมาเลเซีย เคยเป็นแหล่งผลิตรถยนต์ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคในช่วงปี พ.ศ. 2533 แต่ภายหลังก็ต้องเสียแชมป์กับประเทศไทย แต่ถ้านโยบายนี้เป็นจริง เราอาจเห็นมาเลเซียกลับมาผงาดในวงการอุตสาหกรรมยานยนต์ระดับโลก โดยเฉพาะเมื่อกระแสรถยนต์นั่งประหยัดน้ำมัน และรถไฮบริด รวมถึงรถไฟฟ้า กำลังมาแรงในตลาดโลก คงถึงเวลาที่เราต้องทำอะไรมากกว่าอีโค่คาร์เพื่อรักษาความเป็นผู้นำอุตสาหกรรมรถยนต์ในอาเซียน
เรื่องโดย ณัฐยศ ชูบรรจง
ติดตามข่าวสารยานยนต์ รวดเร็วก่อนใคร ได้ที่ Autodeft.com