เตรียมคลอดทายาทรถสปอร์ตในตำนานอย่าง Toyota MR2 และ Lexus LFA

  • โดย : PR Autodeft
  • 21 มิ.ย. 65 00:00
  • 4,829 อ่าน

Toyota วางแผนที่จะเปิดตัวรถไฟฟ้ารุ่นใหม่กว่า 30 รุ่น ภายในปี 2030 อันสืบเนื่องมาจากแผนการพัฒนารถที่ใช้ระบบไฟฟ้าของทางบริษัทฯ โดยส่วนหนึ่งของรถรุ่นใหม่ดังกล่าว จะรวมถึงรถสไตล์ Roadster และ Supercar ที่จะมาเป็นทายาทสืบทอดรถสปอร์ตในตำนานที่ทุกคนรู้จักกันดี

หลังจากที่ทางค่าย Toyota ได้เปิดตัวรถสไตล์สปอร์ตคูเป้รุ่น GR86 ตัวใหม่ บริษัทฯเองก็กำลังเร่งการผลิตรถยนต์ที่ใช้ระบบไฟฟ้าให้กับแบรนด์ Gazoo Racing ที่กำลังโตวันโตคืน และขณะเดียวกันทางแบรนด์พร้อมที่จะนำรถ Toyota รุ่น MR2 ที่โด่งดังในอดีต กลับมาพัฒนาให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบบ 2 ที่นั่ง ที่มีขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักเบา ในราคาที่ทุกคนเอื้อมถึงได้ ซึ่งถือเป็นวาระสำคัญในแผนการของทางบริษัทฯ

 

หลังการเปิดตัวสถาปัตยกรรมการออกแบบที่มีชื่อว่า “E-TNGA” ที่เป็นโมดูลาร์แบบพื้นเรียบของทางค่าย ซึ่งจะนำไปใช้งานครั้งแรกกับรถ Toyota รุ่น bZ4X และรถรุ่นที่มีความใกล้เคียงกันอย่าง Subaru Solterra รวมถึง Lexus รุ่น RZ SUV ทำให้บริษัทรถยนต์ชื่อดังจากแดนปลาดิบแห่งนี้ จำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นเพื่อที่จะรักษาฐานของรถในทุกเซกเมนต์เอาไว้ ในขณะที่กำลังก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้ระบบไฟฟ้า

 

ในช่วงปลายปีที่แล้ว ทาง Toyota ได้บอกใบ้ถึงความหลากหลายที่จะเกิดขึ้นในไลน์ผลิตภัณฑ์ของรถที่ใช้ระบบไฟฟ้าในอนาคตของตัวเอง ด้วยการเปิดตัวรถยนต์ต้นแบบจำนวน 15 รุ่น (เป็นรถจากแบรนด์ระดับพรีเมียมอย่าง Lexus จำนวน 4 รุ่น) รวมถึงรถครอสโอเวอร์ขนาดเล็กที่ใช้ขับขี่ในตัวเมือง และรถซาลูนที่จะมาเป็นคู่แข่งกับ Tesla Model 3 รวมถึงรถกระบะขนาดมาตรฐาน และรถไฟฟ้าคอนเซ็ปต์สไตล์สปอร์ตที่มีรูปลักษณ์ดุดัน ซึ่งคาดว่าจะถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นรถรุ่น MR2 ในยุคใหม่ ซึ่งจะถือว่าเป็นรถสปอร์ตไฟฟ้ารุ่นแรกของทางค่ายอีกด้วย

หลังจากการประกาศที่แบบช็อคโลกของทางค่าย Toyota ในเรื่องแผนการที่จะเปิดตัวรถ EV ใหม่กว่า 30 รุ่น ภายในปี 2030 ก็ทำให้อนาคตของทีมรถแข่ง Gazoo Racing ได้รับความสนใจขึ้นมาในทันที ท่ามกลางพันธกิจอย่างแรงกล้าของทางค่ายใหญ่แห่งนี้ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารถที่ใช้ระบบพลังงานไฟฟ้าให้มากขึ้น และการเปิดเผยที่ว่ารถรุ่น GR86 ที่ได้รับการชื่นชมยกย่องจากทุกภาคส่วนจะเข้าสู่สายการผลิตในเวลาจำกัดเพียงแค่ 2 ปีเท่านั้น อันเนื่องมาจากสเปกของรถที่ขัดกับกฎระเบียบความปลอดภัยจาก European Crash-Safety ที่กำลังจะออกมา

 

โดยในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ทาง Toyota ได้แสดงความคิดเห็นที่มีความเชื่อว่า พลังงานแบตเตอรี่ไม่ใช่วิธีเดียวที่อุตสาหกรรมรถยนต์จะสามารถใช้เพื่อลดคาร์บอนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ Gill Pratt ซีอีโอของสถาบันวิจัยโตโยต้า ได้พูดเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องของการใช้ระบบส่งกำลังแบบเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน และแม้กระทั่งการพัฒนานวัตกรรมใหม่บางส่วนในเรื่องสมรรถนะของมอเตอร์ที่มีอยู่เพื่อให้ใช้กับไฮโดรเจนได้

 

แต่ด้วยการใช้สถาปัตยกรรมการออกแบบ BEV สเกตบอร์ดสำเร็จรูปที่มีอยู่แล้ว และเครือข่ายของระบบการชาร์จไฟในระดับนานาชาติที่มีการปรับปรุงอย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับเจ้าของผู้ใช้รถยนต์ประเภทนี้ จึงทำให้รถยนต์ไฟฟ้าแบบเต็มรูปแบบ 2 ที่นั่งนั้น เป็นรถที่เหมาะสมกับกลุ่มผลิตภัณฑ์ของบริษัทของเรา

Toyota ยังคงทำงานอย่างหนักในการพัฒนาแบตเตอรี่แบบโซลิดสเตตที่พร้อมสำหรับการเข้าสู่กระบวนการผลิต ซึ่งมีข้อดีจากปริมาณความจุของพลังงานที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งมีน้ำหนักที่เบากว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่าแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนแบบทั่วๆไป ที่ติดตั้งในรถ EV ส่วนใหญ่ที่ออกขายอยู่ในปัจจุบัน และนั่นก็นำมาซึ่งความเพอร์เฟกต์สำหรับที่จะใช้ติดตั้งในรถสปอร์ตขนาดเล็กและเน้นในเรื่องของไดนามิกมากยิ่งขึ้น

 

คำถามเมื่อมีการเปิดตัวรถ EV ของทีม Gazoo ที่ว่า จะมีการใช้ระบบเซลล์ไฟฟ้ายุคใหม่เหล่านี้หรือไม่นั้น? ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องติดตาม แต่สัดส่วนของรถ EV คอนเซ็ปต์ สไตล์ Sports ที่ถูกกำหนดเป้าหมายไว้นั้น ก็ดูจะตรงตามความจริงได้มากพอที่จะนำเข้าสู่กระบวนการผลิตโดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงในส่วนใหญ่ๆใดๆอีก ถ้าหากเราอยากจะนึกมโนภาพถึงรถรุ่นใหม่นี้ ก็ให้ลองมองไปที่รถที่วางเครื่องยนต์ไว้ตรงกลาง ซึ่งจะเป็นภาพลางๆของรถที่จะมาเป็นทายาทในตำนานของรถรุ่น MR2 นี้

 

รถไฟฟ้า EV แบบ 'เครื่องยนต์วางกลาง' นั้น มีความเป็นไปได้ในทางเทคนิค โดยรถรุ่นที่จะเป็นทายาทต่อจากรถ Porsche รุ่น 718 Cayman และ Lotus Elise ก็จะวางแบตเตอรี่เรียงในเแนวตั้งที่ด้านหลังของเบาะนั่ง เพื่อพยายามรวมศูนย์ของชิ้นส่วนอะไหล่ภายในแชสซีและเลียนแบบลักษณะการควบคุมแบบรถรุ่นก่อนๆที่ใช้น้ำมันเบนซิน

โดยรถ EV รุ่นใหม่นี้ จะยังคงยึดมั่นในส่วนของตัวอักษร 'R' ในชื่อ MR2 หรือไม่นั้น (ตัวอักษร R มาจากคำว่า Run About) ตรงนี้ยังบอกไม่ได้ชัดเจน โดยรูปแบบการขับเคลื่อนล้อหลังของรถสปอร์ตรุ่นก่อนและการกระจายน้ำหนักที่เหมาะสม เป็นหัวใจสำคัญของระบบไดนามิกแบบเก่าที่มีเสน่ห์ แต่จนถึงตอนนี้ แพลตฟอร์ม E-TNGA นั้น ถูกนำไปใช้ในรถยนต์ที่ติดตั้งระบบขับเคลื่อนล้อหน้าและล้อหลังเท่านั้น ดังนั้น จึงมีแนวโน้มที่จะมีการผลิตฐานสำหรับแพลตฟอร์ม EV ในรถสปอร์ตแบบเฉพาะขึ้นมาใหม่ มากกว่าที่จะใช้ของโหลที่มีอยู่แล้วหรือใช้ระบบขับเคลื่อนแบบเก่าที่เอามาทำใหม่

 

ความคิดเห็นจากผู้เขียนว่าทำไมค่าย Toyota ถึงสามารถผลิตรถทายาทตัวใหม่เหล่านี้ขึ้นมาได้

ก็คงสืบเนื่องจากมรดกตกทอดของรถสปอร์ตในตำนานจากค่าย Toyota ที่ผ่านมาตลอดหลายทศวรรษ ตั้งแต่รถรุ่น MR2 แบบดั้งเดิม ไปจนถึงรถรุ่น GT86 และ GR Yaris (และห้ามลืมรถรุ่น GR86 ที่ออกสู่ตลาดในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งถูกแทนที่ด้วยรุ่น GT86 ขนาด 2.4 ลิตร) ทำให้บริษัทผู้ผลิตรถยักษ์ใหญ่จากแดนซามูไรแห่งนี้ เป็นที่คาดหวังให้เป็นผู้มอบชีวิตใหม่แก่รถสปอร์ตในตำนานเหล่านี้

 

รถยนต์ที่ว่ามาต่างได้เคยมอบความสุนทรีย์ในการขับขี่ ในรูปแบบที่บริสุทธิ์และดิบที่สุดให้แก่พวกเรา และเราก็รักพวกเขาที่ผลิตมันขึ้นมา

 

ในที่นี้อาจจะมีหลายคนคลางแคลงใจ และโต้แย้งว่ามันไม่สามารถจะเลียนแบบได้หรอก หากคุณไม่ใช้เครื่องยนต์สันดาป ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ทาง Toyota ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่ามันจริงหรือไม่จริง

 

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ค่ายรถอื่นๆได้พยายามหลีกเลี่ยงการออกรถแบรนด์ย่อยตามประสิทธิภาพของรถ แต่ผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่นรายนี้ ไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของตัวเองกับแบรนด์ GR เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการมีระบบวิศวกรรมที่ยอดเยี่ยมของพวกเขาอีกด้วย และสุดท้าย ถ้าพูดกันว่าใครจะสามารถสร้างความสำเร็จให้กับรถสปอร์ตไฟฟ้าได้? คำตอบก็คือ Toyota นี่แหละที่จะทำได้..

 

Lexus พร้อมแล้วที่จะเป็นคู่แข่งกับ Lotus Evija

การเปลี่ยนไปใช้ระบบไฟฟ้าแบบเต็มรูปแบบของรถจากค่าย Toyota ยังเป็นการปูทางให้ทางแบรนด์ Lexus กลับมาสู่โลกของซูเปอร์คาร์แบบเต็มรูปแบบอีกครั้ง โดยรถรุ่นใหม่นี้จะมาแทนที่รุ่น LFA ที่ติดตั้งเครื่องยนต์ V10 อันทรงพลัง ซึ่งออกมาในช่วงปี 2010-2012 และพร้อมเข้าสู่การแข่งขันในตลาดรถแห่งอนาคตที่ยังต้องต่อสู่กันไปอีกนานกับแบรนด์อย่าง Lotus Evija, Rimac Nevera และ Pininfarina Battista

 

สเปกที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับรถ EV แบบสปอร์ตของบริษัทแม่อย่าง Toyota ก็คือ Lexus Super-EV ที่มีความสง่างามนี้นั้น ถูกตั้งเป้าไว้ให้วิ่งได้ไกลถึง 435 ไมล์ (ประมาณ 700 กิโลเมตร) ด้วยการใช้เทคโนโลยีแบตเตอรี่แบบโซลิดสเตต และจะสามารถเร่งความเร็วจาก 0 – 62 ไมล์ต่อชั่วโมง (0 – 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ด้วยเวลาน้อยกว่า 2.5 วินาที ซึ่งจะทำให้มันกลายรถไฟฟ้ารุ่นที่วิ่งได้เร็วและไกลที่สุด เมื่อถูกนำออกสู่ตลาดภายในปี  2030

 

แต่เนื่องจากยังมีเวลาอีกหลายปีกว่าที่ Lexus จะทำการเปิดตัวรถซุปเปอร์คาร์รุ่นที่พร้อมสำหรับการเข้าสู่สายผลิต ดังนั้น รายละเอียดทางเทคนิคตางๆจึงยังคงถูกปิดบังอยู่ แต่ทางแบรนด์ก็ได้บอกใบ้ในเบื้องต้นว่า พวกเขากำลังจัดวางแพลตฟอร์มแบบอื่นๆ ซึ่งแยกออกมาจากแพลตฟอร์ม E-TNGA ของ RZ เพื่อที่จะใช้เฉพาะในรถยนต์ของแบรนด์ตน

 

Spiros Fotinos ผู้อำนวยการภาคพื้นยุโรปของบริษัทฯ กล่าวกับสื่อเมื่อเร็วๆนี้ว่า "แพลตฟอร์มดังกล่าวต้องออกแบบมาเฉพาะให้กับ Lexus โดยมุ่งเน้นที่การขับเคลื่อนแบบมีส่วนร่วม แต่หากนั่นหมายถึงแพลตฟอร์ม Toyota ที่มีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มที่ดัดแปลงร่วมกันหรือแพลตฟอร์มที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ จงรู้ไว้เลยว่าแพลตฟอร์มเหล่านั้นจะไม่ถูกนำมาพิจารณาใช้อย่างแน่นอน!”

 

ข้อมูลและภาพจาก autocar

 

ติดตามข่าวสารรถยนต์รวดเร็วก่อนใครได้ที่ AUTODEFT.com

5 เรื่องน่าสนใจ