Sathorn Model ผลสำเร็จการจัดการจราจรเต็มรูปแบบ เพื่อแก้ปัญหาการจราจรอย่างยั่งยืนบนถนนสาทร
- โดย : รัฐศิลป์ รัตนกู้เกียรติ
- 2 ส.ค. 59 00:00
- 5,654 อ่าน
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย พลตำรวจตรีนิพนธ์ เจริญผล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล นายภักดี กล่อมคอน ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนงาน สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร รองศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานร่วมคณะกรรมการโครงการคมนาคมอย่างยั่งยืน 2.0 กรุงเทพมหานคร ร่วมเป็นประธานแถลงข่าว ผลสำเร็จ
ความคืบหน้าของโครงการ “สาทรโมเดล”
โครงการสาทรโมเดล เป็นโครงการได้ริเริ่มมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2557 ภายใต้ความร่วมมือขององค์กร สภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กระทรวงคมนาคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยความร่วมมือในการพัฒนาและดำเนินโครงการจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งจากภาคเอกชน 70 บริษัท และภาครัฐ ที่เกี่ยวข้อง
เป็นครั้งแรกที่ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาจราจร แบบบูรณาการ ทำให้โครงการมีความคืบหน้าไปเป็นอย่างมาก ทางโครงการได้จัดให้มีการทดลองเชิงสังคมครั้งที่ 3 ในวันที่ 6-17 มิถุนายน 2559 ที่ผ่านมาโดยมีการกำหนดมาตรการในบริเวณถนนสาทรไว้ทั้งหมด 24 มาตรการ ซึ่งผลจากโครงการต้นแบบพร้อมที่จะนำขยายสู่พื้นที่อื่นซึ่งเพิ่มความสุขในการเดินทางและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน
- การทดลองจัดการจราจรโครงการ “สาทรโมเดล”
การทดลองจัดการจราจรในช่วงการทดลองเชิงสังคมครั้งที่ 3 ในวันที่ 6-17 มิถุนายน 2559 ภายใต้การนำของกองบัญชาการตำรวจนครบาลและสนับสนุนโดยกรุงเทพมหานครและทีมงานสาทรโมเดล เราได้ดำเนินการทดลองมาตรการเต็มรูปแบบในสัปดาห์ที่ 2 ระหว่างวันที่ 13-17 มิถุนายน โดยแบ่งการประเมินผลการทดลองออกเป็น 2 ช่วง เวลา ระหว่างเวลา 6.00-7.15 น.และเวลา 17.00-19.00 น. ดังนี้
ผลการทดลองในช่วงเร่งด่วนเช้าระหว่างเวลา 6.00-7.15 น. ทางโครงการได้ดำเนินมาตรการที่สำคัญ 3 ประการได้แก่
1.การจัดช่องจราจรพิเศษตั้งแต่แยกสาทรถึงบริเวณหน้าโรงพยาบาลเซนหลุยส์ โดยอนุญาตให้รถขาเข้าจากสะพานตากสินเข้าสาทรเหนือและจากถนนเจริญราษฎร์เลี้ยวขวาเข้าสาทรเหนือสามารถใช้ช่องทางพิเศษ 1 ช่องทางในถนนสาทรใต้
2.การจัดการจราจรบริเวณข้างโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ด้วยการหยุดส่งนักเรียนแล้วรีบเคลื่อนรถออกไป ( Kiss & Go ) โดยกำหนดจุดรับส่ง 3 โซนคือ โซนแรกบริเวณปากทางเข้าออกถนนประมวลสำหรับโรงเรียนอัสสัมชัญ คอนแวนต์ โซนที่ 2 และ 3 สำหรับนักเรียนโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนชั้นประถมและชั้นมัธยม โดยได้รับการสนับสนุนจากทางโรงเรียนจัดนักเรียนรุ่นพี่มาอำนวยความสะดวกและทางกองบัญชาการตำรวจนครบาลได้จัดกำลังตำรวจจราจรกลาง (ตรวจใต้ ) 10 นาย มาสนับสนุนเพิ่มเติม ซึ่งได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองปฏิบัติตามมาตรการอย่างดียิ่ง
3.การบริหารควบคุมสัญญาณไฟจราจรที่สี่แยกสาทรให้มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ควบคุมสัญญาไฟสามารถรับทราบข้อมูลปริมาณการจราจรที่ไหลผ่านแต่ละช่วงเวลาแบบเรียวไทม์และระยะแถวคอยในแต่ละทิศทาง และสภาพการจราจรบริเวณใกล้เคียง เพื่อเป็นข้อมูลช่วยในการตัดสินใจ เพิ่มเติมจากภาพการจราจรจากกล้อง CCTV ที่มีอยู่เดิม
จากผลการทดลอง พบว่า มีค่าเฉลี่ยปริมาณรถทั้งหมดที่ผ่านแยกไปได้ มากกว่า ในช่วงก่อนเริ่มการทดลองอยู่ 670 คัน นับเป็น ร้อยละ 7 ของค่าเฉลี่ย โดยเฉพาะจากทางด้านสะพานตากสิน สามารถระบายรถได้โดยเฉลี่ย เพิ่มขึ้นถึง 500 คัน และจากการวัดความเร็วเฉลี่ยผ่านรถที่มีการรายงานพิกัด ในช่วงเวลาการทดลอง จากบริเวณสถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี จนถึงแยกนรินทร (นราธิวาสฯตัดกับสาทร) พบว่า รถมีความเร็วเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 26-28 เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลอง ซึ่งหมายถึงการประหยัดเวลาในการเดินทางได้นั่นเอง
สำหรับในช่วงเย็นที่มีการจราจรคับคั่งทางด้านขาออก หรือฝั่งถนนสาทรใต้ มีมาตรการห้ามจอดใกล้ทางแยกบริเวณทางลงสถานีรถไฟฟ้าสุรศักดิ์ และการย้ายจุดจอดรถประจำทางชั่วคราว ที่จะช่วยลดคอขวด และให้รถสามารถแล่นผ่านไปได้ดีขึ้น รวมถึงทางอาคารสำนักงานที่อยู่ใกล้แยกสาทร ซึ่งจากผล พบว่า ในช่วงวันที่ 6-17 มิถุนายน 2559 ช่วงเวลา 17:00-19:00 น. มีค่าเฉลี่ยจำนวนรถที่ผ่านแยกสาทรไปได้จากด้านถนนสาทรใต้ มากกว่า ช่วงก่อนการทดลองอยู่ 160 คัน นับเป็น ร้อยละ 3.5 ของค่าเฉลี่ยปริมาณรถทั้งหมดที่ผ่านแยกไปได้
- โครงการจอดแล้วจร : เพื่อเพิ่มทางเลือกในการเดินทางสู่ถนนสาทร
โครงการจอดแล้วจร (Park & Ride) มาตรการเพิ่มทางเลือกสำหรับการเดินทางของประชาชนเข้าสู่พื้นที่ถนนสาทร จากความร่วมมือของสมาคมค้าปลีกไทย, สมาคมห้างสรรพสินค้าไทยและบริษัท นิปปอน ปาร์คกิ้ง ดีเวลลอบเม้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้แบ่งปันพื้นที่จอดรถ รวมถึงที่ได้พัฒนาพื้นที่จอดรถขึ้นมาใหม่ ในทำเลที่เชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าได้อย่างสะดวก ทำให้มีพื้นที่จอดรถในโครงการรวมทั้งหมด 2,794 ที่จอด และจำนวนของผู้ใช้ ณ ปัจจุบันมียอดถึง 504 คน โดยเฉพาะจำนวนของผู้ใช้จุดจอดแล้วจรกรุงธนบุรีเฉลี่ย 280 คน ต่อวัน
โครงการจอดแล้วจร ได้มีการสำรวจความต้องการใช้ที่จอดรถในพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานครจากการสำรวจความต้องการการใช้ที่จอดรถ พบว่า บริเวณฝั่งธนบุรี สถานีกรุงธนบุรี-บางหว้า มากกว่า 1,000 คันต่อวัน อุดมสุข-แบริ่ง ประมาณ 900 คันต่อวัน หมอชิต-สะพานควาย มากกว่า 2,000 คันต่อวัน Airportlink มักกะสัน-ลาดกระบัง 2,000 คันต่อวัน โครงการจอดแล้วจรได้รับความสนใจจากผู้ใช้รถยนต์เป็นอย่างมาก หากมีที่จอดรถที่มีทำเลที่ตั้ง ราคา และอยู่ในเงื่อนใขที่เหมาะสม โดยปริมาณที่จอดรถใกล้สถานีรถไฟฟ้าในปัจจุบันยังคงไม่เพียงพอในการรองรับผู้ใช้งานในพื้นที่ต่างๆ
จากการสำรวจผู้ใช้โครงการจอดแล้วจร พบว่า ผู้ใช้จุดจอดแล้วจรกรุงธนบุรีโดยเฉลี่ย สามารถลดระยะเวลาในการเดินทาง 20 นาที ลดระยะทางการขับรถยนต์ได้ 11 กิโลเมตรต่อวัน
สำหรับความเป็นไปได้ในการพัฒนาจุดจอดแล้วจรในอนาคต ทางโครงการเสนอให้ภาครัฐเป็นผู้ดำเนินการจัดหาที่ดินสำหรับจัดทำจุดจอดแล้วจรในบริเวณใกล้สถานีรถไฟฟ้าที่จะเปิดในอนาคต โดยให้เอกชนมีส่วนร่วมลงทุนก่อสร้างและดำเนินการจุดจอดแล้วจรในที่ดินของรัฐ และได้รับการสนับสนุนการลงทุนจากภาครัฐ นอกจากนี้ รัฐควรมีหน่วยงานเจ้าภาพที่สามารถทำหน้าที่การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นให้ให้มีจุดจอดแล้วจรเพียงพอโดยดำเนินการควบคู่กับการพัฒนาธุรกิจอื่นในบริเวณเดียวกันด้วยเพื่อสร้างรายได้และช่วยลดภาระทางการเงินที่ต้องใช้ดำเนินการจุดจอดแล้วจร
- มาตรการเหลื่อมเวลาทำงาน : เพื่อกระจายปริมาณรถยนต์ในช่วงเวลาเร่งด่วน
มาตรการเหลื่อมเวลาทำงาน (Flexible Working Time)เกิดขึ้นจากความร่วมมือภาคเอกชนที่ต้องการร่วม
แก้ปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานคร ในขณะนี้มีบริษัทเอกชนที่มีสำนักงานในบริเวณถนนสาทร และสีลม ทั้ง 11 บริษัทที่ได้เริ่มใช้มาตรการเหลื่อมเวลาทำงานแล้วได้แก่
1. Aioi Bangkok Insurance Public Company Limited
2. BP-Castrol (Thailand) Limited
3. Bangkok Insurance Public Company Limited
4. Baker & MacKenzie Ltd. Attorneys at Law
5. Dentsu (Thailand) Co., Ltd.
6. Hitachi Asia (Thailand) Company Limited
7. Land and House Public Company Limited
8. Mitsui Sumitomo Insurance Co., Ltd. Thailand Branch
9. The Navakij Insurance Public Company Limited
10.Toyofuji Logistic (Thailand) Co., Ltd.
11.Toyota Motor Thailand Co., Ltd.
ทำให้มีพนักงานรวมกันกว่า 4,300 คน
- แอปพลิเคชั่น : Linkflow เวอร์ชั่น 1.6 : ผู้ช่วยวางแผนการเดินทางในกรุงเทพมหานคร
ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้บริการแอพพลิเคชั่น ลิ้งก์โฟว์มีผู้ใช้ถึง 3,308 ราย นอกจากนั้นยังมี 25 บริษัทที่ร่วมใช้บริการแอพพลิเคชั่น ลิ้งก์โฟว์ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกแก่พนักงานบริษัททุกท่าน ให้มีทางเลือกในการเดินทางที่ดีขึ้นและจำนวนของพนักงานบริษัทที่เข้ามาใช้แอพพลิเคชั่นลิ้งก์โฟว์มีถึง 1,872 ราย
ด้วยความร่วมมือในโครงการฯ พนักงานแต่ละท่านได้เปิดใช้บริการแอพพลิเคชั่นลิ้งก์โฟว์เพื่อใช้เป็นข้อมูลการเดินระหว่างบ้านไปยังที่ทำงานของตน จากรายงานพนักงานผู้ใช้บริการแอพพลิเคชั่นลิ้งก์โฟว์ เป็นทางเลือกที่มีความเป็นไปได้ในการช่วยลดเวลาการเดินทาง อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่าย และช่วยลดปริมาณการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ โดยการเลือกเปลี่ยนเวลาการออกเดินทาง เปลี่ยนวิธีการเดินทาง และเปลี่ยนเส้นทางการเดินทางมาใช้เส้นทางที่ประหยัดเวลามากที่สุด
จากผลตัวอย่างเช่น 69% ของพนักงานบริษัทที่ทดลองใช้แอพพลิเคชั่นสามารถปรับเปลี่ยนเส้นทางการเดินทางที่ดีขึ้นได้ แอพพลิเคชั่น ลิ้งก์โฟว์ให้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ของบริษัท ในการวางแผนการทำงานแบบยืดหยุ่นเวลาและมาตรการต่างๆ เพื่อสนับสนุนพนักงาน
การทดลองในครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นว่า ข้อมูลการเดินทางของแต่ละบุคคลเป็นข้อมูลมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการวางแผนการจราจรในเมือง
- โครงการรถรับส่ง
โครงการรถรับส่งสำหรับพนักงานบริษัทในพื้นที่สาทร (Member Shuttle Service) เพื่อลดการใช้รถยนต์ของพนักงานบริษัทในช่วงเวลาระหว่าง 7.00 – 19.00 โดยได้จัดให้มีจุดจอดรับส่งจำนวน 6 จุด ซึ่งผ่านรถไฟฟ้า BTS สถานีเพลินจิต และ รถไฟฟ้า MRT สถานี ลุมพินี ทั้งนี้โครงการฯ ได้ทดลองให้บริการระหว่างวันที่ 6-24 มิถุนายน 2559 โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายกับผู้ใช้บริการ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาระบบการเชื่อมต่อกับการเดินทางรูปแบบอื่น เช่น รถไฟฟ้า ให้ดียิ่งขึ้น
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้บริการพบว่าส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นการบริการที่ดีมีคุณภาพและสะดวกสบายเมื่อเทียบกับรูปแบบการเดินทางเดิมที่ใช้อยู่ รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรได้ แต่หากต้องการให้บริการพัฒนาโมเดลธุรกิจ กลุ่มผู้ใช้บริการเสนอให้มีการพิจารณาเส้นทางให้ครอบคลุมสถานที่สำคัญที่เป็นจุดดึงดูดความต้องการในการเดินทาง ดังเช่น สถานีรถไฟฟ้า ห้างสรรพสินค้าในบริเวณและรอบๆ เขตสาทร รวมถึงเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้พนักงานทุกท่านทราบ ซึ่งจะทำให้จำนวนผู้ใช้บริการมากขึ้น
นอกจากนี้ หากพิจารณาถึงความต้องการในการใช้บริการรถรับส่ง โดย 40% ต้องการใช้บริการรถรับส่งในช่วงเวลาเช้าเพื่อเดินทางมายังที่ทำงาน และช่วงเวลาเที่ยง นอกนั้นต้องการใช้บริการในช่วงเย็นเกือบทั้งหมดของผู้ที่ต้องการใช้บริการต้องการที่จะใช้รถรับส่งในช่วงเวลาเร่งด่วนเย็นเพื่อเดินทางกลับบ้าน ดังนั้นหากต้องการสนับสนุนให้โครงการสามารถดำเนินการต่อไปได้ควรมีการพิจารณาเส้นทางให้ครอบคลุมจุดสำคัญในพื้นที่เขตสาทรและจัดให้มีการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น และเพื่อความสะดวกของผู้ใช้ในการรอรถ ควรทำให้ผู้โดยสารสามารถทราบตำแหน่งรถ เพื่อสะดวกในการวางแผนการเดินทางโดยใช้แอพพลิเคชั่นบอกตำแหน่งรถและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการบอกตำแหน่งประจำทางรถทั่วไป ซึ่งจะทำให้ประชาชนสะดวกต่อการเข้าใช้บริการในอนาคต
ในส่วนของการให้บริการรถโรงเรียน ( School Bus ) ที่มีความปลอดภัยสูงในรูปแบบ สถานีถึงโรงเรียน (Station to School) ทั้ง 2 โรงเรียน ทางโครงการฯ ได้มีการดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกให้ครอบครัวที่มีความต้องการใช้บริการ และครอบครัวรายใหม่ที่สนใจ โดยที่โรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกประถม มีนักเรียนที่ใช้บริการทั้งหมด 13 คน จาก 2 จุดบริการ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน จำนวน 29 คน จาก 4 จุดบริการ รวมทั้งสิ้น 42 คน
โดยในส่วนของนักเรียนที่ใช้บริการรถโรงเรียนเราพบว่า สามารถประหยัดเวลาการเดินทางของผู้ปกครองได้ถึง 59 นาที เมื่อเทียบกับการขับรถยนต์มาส่งถึงหน้าโรงเรียนในตอนเช้า ซึ่งจะไม่ต้องเข้าไปเผชิญความแออัดของการจราจรในบริเวณสาทร ซึ่งเหล่านี้เองเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรได้
จากผลเบื้องต้นทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นว่า ความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคประชาชน จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของแยกสาทรที่มักมีการจราจรติดขัดได้ และนำไปสู่ความร่วมมืออย่างยั่งยืนต่อไป
“ทั้งหมดนี้คือความมุ่งมั่นของเราที่จะทำให้ ถนนสาทร เป็นถนนต้นแบบของการพัฒนาคมนาคมอย่างยั่งยืน ผมขอขอบคุณทุกภาคส่วน ทั้งราชการและเอกชน ที่ให้การสนับสนุน และมีส่วนร่วมในมาตราการต่าง ๆ ที่กล่าวมา เราเชื่อมั่นว่าปัญหาจราจรจะถูกทำให้เบาบางและหมดไปได้ หากทุกคนได้ร่วมมือ เพื่อประโยชน์ของสังคมที่จะพัฒนาต่อไปอย่างยั่งยืน ดั่งสโลแกนของเราที่ว่า “สร้างสรรค์ความสุขในการเดินทาง”
ในวันที่ 6-17 มิถุนายน 2559 ทางโครงการได้เริ่มมาตรการจัดการจราจรดังต่อไปนี้
1.การเปิดช่องจราจรพิเศษตั้งแต่แยกสาทรถึงบริเวณหน้าโรงพยาบาลเซนหลุยส์ (Reversible lane)
2.การจัดการจราจรบริเวณหน้าโรงเรียน ( Kiss& Go )
3.การบริหารควบคุมสัญญาณไฟจราจร( Traffic Signal Operation )
4.การประมวลผลภาพวีดีโอเพื่อการจัดการจราจร (Image Processing)
5.การติดเซนเซอร์เก็บข้อมูลรถเพื่อใช้จัดสัญญาณไฟจราจร (Loop Coil Sensor)
6.การบริหารจัดการจุดจอดรถประจำทาง ( Manage bus stop )
7.การจัดการรถที่เลี้ยวซ้าย (Manage Turn Left)
8.การบังคับใช้กฎจราจรอย่างเคร่งครัด (Prohibit Traffic violation )
9.การย้ายตำแหน่งป้ายรถประจำทาง ( Move bus stop)
10.การจัดการรถเข้าออกอาคาร Thai CC ( Manage entering car from Thai CC )
11.การห้ามจอดรถบริเวณใกล้ทางแยก (Prohibit road side parking near intersections )
12.การห้ามจอดรถบริเวณใกล้แยกนรินทร(ช่วงเย็น) ( Prohibit road side parking Narinthorn intersection ( in the evening ))
13.การเพิ่มความจุของด่านเก็บค่าผ่านทางถ.พระรามที่ 4 (Improve capacity of toll gate (Rama4))
14.การห้ามจอดรถริมถนนพระรามที่ 4 (ช่วงเย็น) ( Prohibit road side parking Rama 4 (in the evening))
15.การตัดต้นไม้เพิ่มระยะมองเห็น (Cut bush)
ติดตามข่าวสารยานยนต์ รวดเร็วก่อนใคร ได้ที่ Autodeft.com