McLaren เตรียมเปิดตัว Primes รถ Super SUV ไฟฟ้า ภายในปี 2030

  • โดย : PR Autodeft
  • 16 มิ.ย. 65 00:00
  • 4,584 อ่าน

McLaren กำลังทำงานอย่างหนักในการผลิตรถสไตล์ครอสโอเวอร์สมรรถนะสูงรุ่นใหม่ล่าสุด ซึ่งเป็นโครงการที่ขัดกับความตั้งใจแต่แรกของบริษัทฯ ที่ได้ประกาศโดยตรงไว้ก่อนหน้านี้ว่า McLaren จะสร้างแต่รถซุปเปอร์คาร์และไฮเปอร์คาร์เพียงเท่านั้น

โครงการนี้จะเป็นการทำงานเพื่อตามติดแบรนด์รถคู่แข่ง ในการไล่ล่าผลกำไรจำนวนมหาศาลในตลาดรถเซกชั่นนี้ โดยรถแบบ High-Riders รุ่นใหม่นี้ จะถูกผลิตออกมาเป็นรถระบบที่ใช้ไฟฟ้าเท่านั้น!

 

รถครอสโอเวอร์รุ่นใหม่ที่จะออกสู่ตลาดในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษนี้ จะเป็นรถที่ใช้ระบบไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เต็มรูปแบบ ไม่ใช่รถในแบบไฮบริดแต่อย่างใด และจะไม่มีวันที่รถรุ่นใหม่นี้จะกลับไปใช้เครื่องยนต์แบบสันดาปอีกครั้ง

 

เป็นที่เข้าใจกันดีว่า McLaren ได้มองหารถแบบเดียวกันนี้ เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการผลิตมาโดยตลอด แต่จากการคิดค้นวิจัยในช่วงที่ผ่านมา บริษัทฯก็ได้มีการนำเสนอรถรุ่นที่มีสเปคและระดับของกำลังที่แตกต่างกันออกไป โดยมีลักษณะคล้ายกับรถจากค่าย Aston Martin รุ่น DBX  

เชื่อกันว่ารถ McLarens รุ่นใหม่นี้ จะถูกออกแบบให้มีขนาดค่อนข้างเตี้ย ด้วยรูปทรงกะทัดรัด และติดตั้งระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ หรือใช้มอเตอร์ 2 ตัว ซึ่งจะให้ประสิทธิภาพในการทำงานที่เหนือชั้นกว่า โดยน่าจะเทียบได้กับรถ Aston Martin รุ่น DBX 707 ที่เพิ่งถูกเปิดตัวไปเมื่อเร็วๆนี้ และในปัจจุบันรถรุ่น DBX 707 นี้ ก็ถือว่าเป็นรถ SUV ที่มีความเร็วสูงที่สุดในโลก

 

เนื่องด้วยขนาดและความซับซ้อนในการออกแบบของมัน บวกกับต้นทุนที่สูงอย่างไม่ต้องสงสัยของเทคโนโลยีแบตเตอรี่ระดับท็อปเอนด์นั้น ทำให้ราคาของรถมีแนวโน้มว่าจะพุ่งขึ้นไปสูงกว่าระดับ 250,000 ปอนด์ (ประมาณ 10,600,000 บาท) ที่เป็นราคามาตรฐานของรถสปอร์ตจากค่าย McLaren ที่ถูกผลิตออกขายในปัจจุบัน โดยคาดว่าราคาของรถรุ่นนี้อาจจะขึ้นไปอยู่ใกล้ๆที่ 350,000 ปอนด์ (หรือประมาณ 14,800,000 บาท)

 

การเปลี่ยนใจครั้งใหญ่ของค่าย McLaren ที่มีต่อรถสไตล์ครอสโอเวอร์รุ่นนี้นั้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่ามันเป็นผลมาจากความสำเร็จในเรื่องยอดขายของค่ายรถสมรรถนะสูงซึ่งเป็นคู่แข่งของตัวเอง โดยรถสไตล์ครอสโอเวอร์และ SUV ที่ถูกนำออกสู่ตลาดแล้วนั้น มียอดขายที่เหนือกว่ารถแบบ low-slung อย่างมาก และเป็นตัวทำกำไรส่วนใหญ่ให้กับบริษัทของพวกเขา

ตัวอย่างเช่น ค่าย Porsche ที่มีจำนวนยอดขายรถในปี 2021 มากที่สุดเท่าที่เคยทำได้ในประวัติศาสตร์ 91 ปีของแบรนด์ โดยรถรุ่น Macan SUV และรุ่น Cayenne ที่มีขนาดใหญ่กว่านั้น มียอดขายรวมกันในสัดส่วนที่มากกว่าครึ่งของยอดขายรถรวมทั้งหมดกว่า 300,000 คัน ในขณะที่รถสปอร์ตอย่าง Porsche 911 นั้น สามารถขายได้เพียง 38,464 คัน

 

และมันก็เป็นเรื่องที่คล้ายกันกับรถของค่าย Lamborghini รุ่น Urus SUV ซึ่งขายได้มากกว่ารถซุปเปอร์คาร์รุ่น Huracán ในสัดส่วนประมาณ 2 ต่อ 1 ในช่วงปี 2021 ที่ผ่านมา

 

และแน่นอน! รถรุ่น DBX ของค่าย Aston Martin ก็มียอดขายรวมทั่วโลกในช่วงเวลาเดียวกัน เป็นจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของยอดขายทั้งหมดของแบรนด์

ไม่เว้นแม้แต่ค่าย Ferrari ที่สามารถขึ้นมาเป็นผู้ผลิตรถซุปเปอร์คาร์ที่สามารถทำกำไรได้มากที่สุดจากทุกค่ายอย่างง่ายดาย ภายในเวลาไม่กี่เดือนหลังจากเปิดตัวรถครอสโอเวอร์ รุ่น Purosangue ถึงแม้ว่าในตอนแรกรถรุ่นนี้จะถูกออกแบบให้ติดตั้งระบบขับเคลื่อน V12 แบบปกติ

 

แต่บางทีแล้วเรื่องที่ขัดเจนที่สุด ที่ทำให้ความตั้งใจในงานคิดค้นวิจัยต้องเปลี่ยนแปลงไปก็คือ การมาถึงของ Michael Leiters CEO คนใหม่ ซึ่งเป็นวิศวกรชาวเยอรมันที่ใช้เวลามากกว่าหนึ่งทศวรรษในบริษัท Porsche เพื่อดูแลขั้นตอนการผลิตของรถรุ่น Cayenne และ Macan SUV ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในปัจจุบัน จากนั้นเขาจึงเข้ามาร่วมงานกับ Ferrari ในปี 2014 ในตำแหน่งหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิค ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะเจาะสำหรับการออกแบบรถในแนวคิดของรุ่น Purosangue

 

ดังจะเห็นได้ว่าในอดีต Mike Flewitt ผู้ซึ่งเป็นนายเก่าของเขา และเป็นประธานบริษัทฯในช่วงทศวรรษแรกที่ค่าย McLaren ประสบความสำเร็จ โดยเขาเป็นผู้บริหารที่มักจะกล่าวถึงเรื่องที่บริษัทฯไม่ได้สนใจในรถแบบครอสโอเวอร์และ SUV แต่อย่างใดเลย

 

แต่เมื่อปลายปีแล้ว เขาก็ได้ก้าวลงจากตำแหน่งอย่างกะทันหันและไม่มีคำอธิบายถึงเรื่องการลาออกแต่อย่างใด ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ทีมผู้บริหารชุดใหม่ได้รับการแต่งตั้งเข้ามา เพื่อบริหารงานในกลุ่มบริษัท McLaren ที่มีขอบเขตกว้างขึ้น

แม้ว่าทีมวางแผนของ McLaren จะตระหนักดีถึงความสำเร็จของรถสไตล์ครอสโอเวอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งกำลังอยู่ในสายการผลิตอยู่แล้ว แต่ข่าวจากวงในยังได้กล่าวว่า บริษัทฯมุ่งมั่นที่จะคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพการทำงานอันเป็นที่ยอมรับ ด้วยการผลิตรถขนาดกะทัดรัด มีน้ำหนักเบา และมีระบบแอโรไดนามิกที่ซับซ้อน

 

เป็นที่เข้าใจกันว่า บริษัทฯต้องรอให้เกิดการพัฒนาในระบบแบตเตอรี่ตามที่ได้มีการให้สัญญากันไว้ โดยเฉพาะในเรื่องของขนาดและน้ำหนักที่ต้องลดลง รวมถึงในเรื่องความจุของพลังงานที่จะต้องดีขึ้นจากการใช้เทคโนโลยี Solid-State (เป็นสิ่งที่ครั้งหนึ่ง Flewitt เคยกล่าวยกย่องไว้ว่า มันจะเป็น "ตัวเปลี่ยนเกมส์" สำหรับรถยนต์ขนาดเบา) ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะถูกนำออกสู่ตลาดในช่วงประมาณปี 2028

 

แต่ปัจจุบัน ทางค่าย McLaren ก็ยังไม่มีความคิดเห็นใดๆออกมาอย่างเป็นทางการ เกี่ยวกับแผนการของรถสไตล์ครอสโอเวอร์ และแม้ว่าข่าวจากวงในจะยอมรับกันว่า “ทางค่ายนั้นมีความปรารถนาจะให้เกิดรถในแนวคิดนี้อย่างเหลือเกิน”

 

และเชื่อว่าบริษัทฯกำลังเตรียมรับมือกับการเปิดตัวรถซุปเปอร์คาร์ Plug-in Hybrid รุ่น Artura ที่มีความล่าช้ามานานแล้ว ในขณะที่ก็ยังตั้งหน้าตั้งตารอการเข้ามาทำงานของ Leiters ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้ด้วย

 

อย่างไรก็ตาม จากเครื่องหมายการค้าล่าสุดที่ทาง McLaren ได้ยื่นไปนั้น ก็เป็นการบอกอย่างเป็นนัยๆถึงความต่อเนื่องในรูปแบบของการตั้งชื่อ ที่ตั้งเพิ่มขึ้นตามลำดับล่าสุด ดังที่ปรากฎตามนี้ รุ่น Speedtail, รุ่น Senna, รุ่น Elva, รุ่น GT และรุ่น Artura ซึ่งทางบริษัทฯได้หลีกเลี่ยงการกำหนดรุ่นด้วยตัวเลขที่ทีมงานได้ใช้ตั้งแต่การเปิดตัวรถ McLaren รุ่น MP4 -12C ในปี 2011

 

โดยล่าสุดทาง McLaren ได้เพิ่งเข้าซื้อเครื่องหมายการค้าในชื่อ Solus, Aonic และ Aeron ซึ่งมีความหมายว่า 'ภูเขาแห่งความแข็งแกร่ง' ดังนั้น ชื่อนี้จึงอาจเหมาะสมที่สุดที่จะใช้ในรถรุ่นที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและเป็นมิตรกับไลฟ์สไตล์มากขึ้นด้วย

 

เรื่องราวของเจ้านายคนใหม่แห่งค่าย McLaren

 

Michael Leiters ซีอีโอคนใหม่แห่งค่าย McLaren จะส่งต่อทักษะการทำงานที่แตกต่างกันแบบเล็กน้อยมาสู่ทีม หลังจากที่เขาได้ใช้เวลากว่า 21 ปี ในแบรนด์รถสปอร์ตที่ได้รับการยกย่องและมีความสามารถในการแข่งขันทางการตลาดที่สูงที่สุดในโลกถึง 2 แบรนด์ และเขาก็เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องของผลงานที่สามารถนำรถ SUV สำหรับครอบครัว ให้เข้าไปอยู่ในลำดับความนิยม อย่างเช่น รถ Porsche รุ่น Cayenne และ รถ Ferrari รุ่น Purosangue

“ผมเชื่อมั่นในรถยี่ห้อนี้และเรื่องของแนวคิดทางเทคนิคของมัน” เขากล่าวเสริม โดยเขาได้ปัดข้อเสนอแนะใดๆที่ไม่แสดงออกถึงความเป็น Ferrari อย่างแท้จริง และด้วยเหตุนี้จึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าบริษัทผู้ผลิตรถสปอร์ตในปัจจุบันนั้น จำเป็นที่จะต้องกระจายความเสี่ยงออกไป

 

และถึงแม้ว่าจะมีการผลักดันการนำเสนอรถรุ่นที่อยู่ในกระแสหลักมากขึ้น แต่ทาง Leiters เอง ก็ยังคงมุ่งมั่นที่จะรักษาแนวคิดของเครื่องยนต์ที่เป็นมิตรและมีประสิทธิภาพสูง เพื่อนำไปใช้ในรถยนต์ที่มีสมรรถนะสูงพิเศษสำหรับเหล่าบรรดาแฟนคลับที่ชื่นชอบในแบรนด์

 

เมื่อเร็วๆนี้ Leiters ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อเกี่ยวกับอนาคตของรถรุ่นดาวเด่นของ Ferrari อย่าง V12 ในยุคของรถที่ใช้ระบบไฟฟ้า โดยเขากล่าวว่า “โดยส่วนตัวแล้วผมเชื่อว่าเราต้องต่อสู้เพื่อเครื่องยนต์ชนิดนี้ ซึ่งในมุมมองทางเทคโนโลยีแล้ว มันอาจจะไม่ได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด อย่างเช่น เครื่องยนต์เทอร์โบ V8 ที่อาจจะดีกว่าในแง่ของประสิทธิภาพ แต่จากมุมมองทางอารมณ์แล้ว มันคือสิ่งที่ดีที่สุดที่คุณสามารถจะมีได้”

 

จากที่เขาได้กล่าวมา ก็ไม่ใช่ว่าเขาเลือกที่จะไม่รับรู้ถึงประโยชน์ของการใช้ระบบพลังงานไฟฟ้า โดยก่อนหน้านี้เขาได้บอกกับเราว่า "คุณได้อะไรเยอะเลย" เช่น ในเรื่องของไดนามิกที่ได้จากการเพิ่มเพลาหน้าที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า และบางครั้งเสียงเครื่องยนต์ที่หายไปก็อาจจะเป็นประโยชน์ "แม้ในบางเวลาที่คุณต้องการให้เครื่องยนต์ของรถเพิ่มกำลังให้สูงขึ้น คุณก็คงไม่ต้องการเสียงของมันเสมอไป กล่าวคือ ถ้าในรถวิ่งได้ด้วยสมรรถภาพที่เหมาะสม เสียงก็เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นอีกต่อไป”

 

แม้ว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทาง McLaren ต้องการเน้นก็คือรถที่มีน้ำหนักเบา แต่ทาง Leiters นั้นกลับให้ความสนใจในเรื่องนี้อย่างน้อยที่สุด โดยเขากล่าวว่า “มันเป็นเรื่องช้ำชอกใจ” ที่จะต้องติดตั้งส่วนประกอบไดรฟ์ไฮบริดที่มีขนาด 250 กิโลกรัม ในซุปเปอร์คาร์ที่ใช้ระบบพลังงานไฟฟ้า แต่เขาก็ได้เสริมว่า จะมีการใช้วัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ในหลายๆจุด และพยายามรักษาจุดศูนย์ถ่วงให้ต่ำขึ้นเป็นพิเศษ (ทั้งสองอย่างนี้กำลังได้รับการค้นคว้าวิจัยโดยผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียด) ซึ่งจะสามารถช่วยลดผลกระทบที่มีต่อระบบไดนามิกของรถได้

 

ข้อมูลและภาพจาก autocar

 

ติดตามข่าวสารรถยนต์รวดเร็วก่อนใครได้ที่ AUTODEFT.com

5 เรื่องน่าสนใจ