โตโยต้า แถลงยอดขายตลาดรถยนต์ครึ่งแรกปี 2562 พร้อมคาดการณ์ตลาดรวมคงอยู่ในระดับ 1 ล้านคัน
- โดย : Autodeft
- 24 ก.ค. 62 00:00
- 5,988 อ่าน
มร.มิจิโนบุ ซึงาตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด แถลงสถิติการจำหน่ายรถยนต์ครึ่งแรกของปี 2562 พร้อมประมาณการตลาดรถยนต์ไทยปี 2562
มร.ซึงาตะ กล่าวว่า “ปีนี้นับเป็นปีที่น่าจับตามองอีกปีหนึ่ง สำหรับตลาดรถยนต์ที่ทดสอบว่าจะสามารถรักษาระดับยอดขายที่ดีจากปีที่ผ่านมาได้หรือไม่ ซึ่งการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ และกิจกรรมส่งเสริมการขายจากค่ายรถยนต์ มีส่วนสำคัญต่อการเติบโตของตลาดรถยนต์ในประเทศ โดยยอดขายรถยนต์ในครึ่งปีแรกของปี 2562 มียอดขายอยู่ที่ 523,770 คัน เติบโตเพิ่มขึ้น 7.1% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา”
สถิติการขายรถยนต์ ครึ่งแรกของปี 2562 ปริมาณการขายรวม 523,770 คัน เพิ่มขึ้น 7.1%
- รถยนต์นั่ง 206,540 คัน เพิ่มขึ้น 8.5%
- รถเพื่อการพาณิชย์ 317,230 คัน เพิ่มขึ้น 6.2%
- รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 258,375 คัน เพิ่มขึ้น 8.8%
- รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 225,508 คัน เพิ่มขึ้น 8.7%
สำหรับแนวโน้มตลาดรถยนต์ของปี 2562 มร.ซึงาตะ คาดการณ์ว่า “ตลาดรถยนต์รวมในครึ่งปีแรกเติบโตมากกว่าที่เคยคาดไว้ สืบเนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศไทยที่มีความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามตลาดรถยนต์ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาปรับลดลงในรอบ 30 เดือน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีผ่านมา ซึ่งคาดว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจโลกที่ไม่แน่นอน อาจส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์ในครึ่งปีหลัง ดังนั้นเราจึงคาดการณ์ว่าตลาดรถยนต์รวมในประเทศจะเติบโตอยู่ในระดับ 1 ล้านคัน เช่นเดียวกับที่เราคาดการไว้ตั้งแต่ต้นปี และยังถือได้ว่าเป็นปีที่มียอดขายแตะระดับล้านคันเป็นปีที่สองติดต่อกัน”
ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศ ปี 2562 ปริมาณการขายรวม 1,000,000 คัน ลดลง 4.0%
- รถยนต์นั่ง 387,229 คัน ลดลง 3.1%
- รถเพื่อการพาณิชย์ 612,769 คัน ลดลง 4.6%
- รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 496,088 คัน ลดลง 3.0%
- รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 432,898 คัน ลดลง 3.2%
มร.ซึงาตะ กล่าวว่า “สำหรับยอดขายโตโยต้าในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ที่ 171,502 คัน เพิ่มขึ้น 20.8% ครองส่วนแบ่งการตลาด 32.7% ซึ่งมีปัจจัยหลักมาจากการตอบรับที่ดีของลูกค้า จากการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมาจนถึงต้นปีนี้ อาทิเช่น The All-New Camry ซึ่งมาพร้อมกับสถาปัตยกรรมยานยนต์ใหม่ TNGA และเครื่องยนต์ Dynamic Force ที่ให้ประสิทธิภาพการขับขี่สูงสุด Hilux Revo Z Edition ที่โดดเด่น เร้าใจ ด้วยกันชนและกระจังหน้าดีไซน์ใหม่ รวมไปถึงกิจกรรมส่งเสริมการขายของ Yaris และ ATIV
สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้า ครึ่งแรกของปี 2562 ปริมาณการขายโตโยต้า 171,502 คัน เพิ่มขึ้น 20.8% ส่วนแบ่งตลาด 32.7%
- รถยนต์นั่ง 60,350 คัน เพิ่มขึ้น 12.8% ส่วนแบ่งตลาด 29.2%
- รถเพื่อการพาณิชย์ 111,152 คัน เพิ่มขึ้น 25.6% ส่วนแบ่งตลาด 35.0%
- รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 99,206 คัน เพิ่มขึ้น 29.2% ส่วนแบ่งตลาด 38.4%
- รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 84,806 คัน เพิ่มขึ้น 32.7% ส่วนแบ่งตลาด 37.6%
มร.ซึงาตะ กล่าวเพิ่มเติมว่า “นอกจากนี้ “The All-New Commuter” ที่เราได้เปิดตัวไปเมื่อเดือนที่ผ่านมาสามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้เป็นอย่างดี ทั้งในเรื่องความปลอดภัยที่เหนือระดับและความสบายที่เหนือชั้นสำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสาร เรามีความภูมิใจและอยากขอบคุณลูกค้าที่ไว้วางใจในผลิตภัณฑ์ของเรา โดยมียอดจองมากกว่า 2,000 คันซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่เราได้คาดการณ์ไว้
และสำหรับเป้าหมายของโตโยต้าในปีนี้ เรายังยืนยันส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 33% ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ตั้งแต่ต้นปี ด้วยยอดขายที่ 330,000 คัน เพิ่มขึ้น 4.7% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้เราจะเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้วยการเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น และมุ่งมั่นในการสร้างยนตรกรรมที่ดียิ่งกว่า (Ever-Better Cars) เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ดีให้กับลูกค้าของเราตลอดทั้งปี
สำหรับการส่งออกในครึ่งปีแรก โตโยต้าได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจำนวน 138,538 คัน ลดลง 5% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในส่วนของเป้าหมายการส่งออกในปี 2562 นั้น เราคาดการณ์ว่าปริมาณการส่งออกของโตโยต้ายังคงอยู่ที่ 270,000 คัน ลดลง 8% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา สืบเนื่องจากความต้องการที่ลดลงในภูมิภาคอเมริกากลาง อเมริกาใต้ และโอเชียเนีย นอกจากนี้ในด้านการผลิตของโตโยต้านั้น เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของตลาดรถยนต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เราจึงยังคงยึดเป้าหมายเดิมในการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศและเพื่อการส่งออกอยู่ที่ 577,000 คัน ลดลง 2% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา”
ประมาณยอดขายรถยนต์ในประเทศของโตโยต้า ปี 2562 ปริมาณการขายรวม 330,000 คัน เพิ่มขึ้น 4.7% ส่วนแบ่งตลาด 33.0%
-รถยนต์นั่ง 115,950 คัน เพิ่มขึ้น 3.2% ส่วนแบ่งตลาด 29.9%
- รถเพื่อการพาณิชย์ 214,050 คัน เพิ่มขึ้น 5.6% ส่วนแบ่งตลาด 34.9%
-รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 189,730 คัน เพิ่มขึ้น 7.2% ส่วนแบ่งตลาด 38.2%
- รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 161,920 คัน เพิ่มขึ้น 7.3% ส่วนแบ่งตลาด 37.4%
มร.ซึงาตะ กล่าวเพิ่มเติมว่า “นอกจากเป้าหมายทางด้านธุรกิจ โตโยต้ายังมีอีกหนึ่งเป้าหมายที่ท้าทาย นั่นคือการเปลี่ยนแปลงตัวเองในฐานะผู้ผลิตรถยนต์ไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการขับเคลื่อน (Mobility Company) ซึ่งเป็นการให้บริการทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง สำหรับโครงการ “CU TOYOTA Ha:mo” คือการเดินทางระยะสั้นจากต้นทางสู่ปลายทาง(first and last mile mobility) ซึ่งเราได้การตอบรับเป็นอย่างดีจากนิสิต อาจารย์ รวมถึงเจ้าหน้าที่ และเรากำลังร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและพันธมิตรเพื่อศึกษาการปรับปรุงการขับขี่ปลอดภัยและการประหยัดพลังงาน(Safety & Eco-Driving Improvement) และการเคลื่อนย้ายรถด้วยระบบขับขี่อัตโนมัติ (Autonomous Vehicle Relocation) ควบคู่ไปกับแผนการขยายบริการไปยังพื้นที่รอบนอกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งโครงการดังกล่าวถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการขับเคลื่อนที่ดียิ่งกว่า(Ever-Better Mobility)
นอกจากนี้โตโยต้ายังได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะของบุคลากร ซึ่งตลอดระยะเวลา 56 ปี ของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย โตโยต้าได้รับการยอมรับในฐานะที่เป็นองค์กรต้นแบบในด้านการบริหารจัดการด้วย “วิถีโตโยต้า” (Toyota Way) และ “ระบบการผลิตแบบโตโยต้า” (Toyota Production System) ซึ่งทั้งสององค์ความรู้นี้ได้ถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาที่วิทยาลัยเทคโนโลยียานยนต์โตโยต้าเพื่อเพิ่มพูนขีดความสามารถและทักษะด้านการบริหารจัดการ ในขณะเดียวกันรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้นักศึกษาในสาขาด้านเทคโนโลยี
สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นที่มาของความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยเทคโนโลยียานยนต์ โตโยต้าและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อพัฒนาหลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านเทคโนโลยียานยนต์ ภายใต้ชื่อโครงการ “พัฒนาบุคลากรเชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ Mobility Technologist” โดยเราเชื่อมั่นว่านักศึกษาที่จบจากโครงการนี้จะเป็นรากฐานสำคัญและช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยในอนาคตต่อไป
ทางด้านการดำเนินงานเพื่อสังคมที่ดียิ่งกว่า(Ever-Better Society) ผ่านเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โตโยต้าเริ่มต้นการเปิดสายการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฮบริด ที่โรงงานประกอบรถยนต์โตโยต้าเกตเวย์ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งเราพร้อมแล้วที่จะผลิตแบตเตอรี่เพื่อใช้ในรถยนต์ C-HR และ Camry รวมถึงรถยนต์ไฮบริดรุ่นใหม่ในอนาคต พร้อมทั้งโตโยต้ายังได้ริเริ่มโครงการ“การจัดการแบตเตอรี่ไฮบริดทั้งวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์” ในรูปแบบของการ Rebuilt Reuse และ Recycle หรือ 3R โดยนำเข้าเครื่องจักรเทคโนโลยีชั้นสูงจากประเทศญี่ปุ่นเพื่อใช้ในการดำเนินการ สำหรับโครงการนี้เป็นการร่วมมือกันระหว่าง บริษัท โตโยต้า ทูโช (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท เด็นโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท เวสท์ แมเนจเม้นท์ สยาม จำกัด และพร้อมที่จะเริ่มกระบวนการคัดแยกภายในเดือนหน้า โตโยต้าถือได้ว่าเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายแรกที่เริ่มระบบการจัดการแบตเตอรี่ไฮบริดทั้งวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ในประเทศไทย ทั้งนี้ไม่เพียงแต่ผู้ผลิตรถยนต์เท่านั้น แต่เรายังเปิดให้บริการกับลูกค้าทุกประเภทในอุตสาหกรรมอื่นๆด้วย เราเชื่อว่าโครงการดังกล่าวจะมีส่วนช่วยในด้านสิ่งแวดล้อม และสามารถทำให้ลูกค้าเป็นเจ้าของรถยนต์ไฮบริดได้ง่ายยิ่งขึ้น
ทางด้านกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม ปีนี้เป็นปีที่ครบรอบ 15 ปีของการปลูกป่าชายเลน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณได้เสด็จพระราชดำเนินไปเข้าร่วมปลูกป่าชายเลน และเก็บขยะชายเลนกับเราในครั้งนี้ ซึ่งกิจกรรมนี้ยังเป็นหนึ่งในโครงการของเราที่สนับสนุนปฏิญญากรุงเทพฯว่าด้วยการต่อสู้กับขยะในทะเลในภูมิภาคอาเซียน โดยได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายกลุ่มพันธมิตรระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (NGOs) ทั้งนี้ยังมีอาสาสมัครกว่า 7,000 คน ร่วมกิจกรรมเก็บขยะชายเลนและปลูกพันธุ์ไม้ชายเลนจำนวน 50,000 ต้น ขยะชายเลนได้ถูกเก็บเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้นกว่า 2.8 ตัน เพื่อนำไปคัดแยกและรีไซเคิลอย่างเหมาะสม สำหรับกิจกรรมในปีนี้ถือเป็นกิจกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเท่าที่เคยมีมา โดยตลอดระยะเวลา 15 ปี เราได้ร่วมกันปลูกป่าชายเลนในพื้นที่ไปแล้วรวมทั้งสิ้นกว่า 642,800 ต้น ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 8,400 ตันต่อปี* และรักษาความหลากหลายทางชีวภาพสัตว์จำนวน 128 ชนิด ค่าเฉลี่ยการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของพันธุ์ไม้ชายเลนยืนต้นโตเต็มที่ อยู่ที่ประมาณ 13 ตันต่อปี ต่อไร่ -- อ้างอิงจาก ICLEI : International Council for Local Environment Initiatives - Local Governments for Sustainability (www.iclei.org) สภาสากลที่ว่าด้วยเรื่องของการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นหน่วยงานเพื่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า 200 แห่ง จาก 43 ประเทศ
สำหรับโครงการโตโยต้าถนนสีขาว ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา เรามีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมด้านความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน เพื่อนำไปสู่การสร้าง “สังคมคนขับรถดี” ผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิเช่น “หลักสูตรการขับขี่ปลอดภัย ประหยัดพลังงาน และรักษาสิ่งแวดล้อม” (Safe Eco Driving) ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากตัวแทนจำหน่ายประชาชน นักศึกษาและผู้ขับขี่รถสาธารณะ โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการมากกว่า 62,823 คน และเพื่อให้โครงการนี้ถูกขับเคลื่อนอย่างยั่งยืน เราจึงเปิด “ศูนย์พัฒนาศักยภาพผู้ขับขี่รถยนต์โตโยต้า” (Toyota Driving Skill Development Center) ที่ Toyota Driving Experience Park เพื่อพัฒนาและเพิ่มทักษะการขับขี่รถยนต์อย่างปลอดภัย
และเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โครงการโตโยต้าธุรกิจชุมชนพัฒน์ (Toyota Social Innovation) ซึ่งเป็นโครงการที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ และประสบการณ์ในการจัดการธุรกิจของโตโยต้าให้กับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและลดต้นทุนการดำเนินงาน ตลอดจนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาเราได้ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ ธุรกิจชุมชน 16 จังหวัดทั่วประเทศ และมีแผนจะขยายการดำเนินงานเพิ่มเติมอีก 13 จังหวัดในปีหน้า
มร.ซึงาตะ กล่าวปิดท้ายว่า “ผมมีความยินดีที่อยากจะแจ้งให้ทุกท่านทราบว่า ในปีนี้ทีมแข่งโตโยต้า กาซู เรซซิ่ง ทีมไทยแลนด์ (Toyota Gazoo Racing Team Thailand) ได้นำรถ Toyota C-HR เข้าร่วมแข่งขันในรุ่น Super Production 3 และสามารถคว้าเส้นชัยอันดับ 3 ในรายการ “The Nurburgring 24 hour Endurance Race” ณ ประเทศเยอรมนี ซึ่งสนามนูร์เบอร์กริงได้รับการกล่าวขานว่าเป็นสนามที่ขับยาก ท้าทายและอันตรายที่สุดสนามหนึ่งในโลก ถือเป็นบทพิสูจน์ให้เห็นถึงสมรรถนะของเครื่องยนต์ที่แข็งแกร่งและทนทานของ Toyota C-HR และความสำเร็จนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนายนตรกรรมที่ดียิ่งกว่า (Ever-Better Cars)”
ประมาณการปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมิถุนายน 2562
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 86,048 คัน ลดลง 2.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 28,925 คัน เพิ่มขึ้น 4.0% ส่วนแบ่งตลาด 33.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 13,215 คัน เพิ่มขึ้น 2.1% ส่วนแบ่งตลาด 15.4%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 12,142 คัน เพิ่มขึ้น 15.1% ส่วนแบ่งตลาด 14.1%
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 35,409 คัน ลดลง 4.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 9,732 คัน ลดลง 5.6% ส่วนแบ่งตลาด 27.5%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 9,150 คัน เพิ่มขึ้น 6.5% ส่วนแบ่งตลาด 25.8%
อันดับที่ 3 มาสด้า 4,055 คัน ลดลง 23.3% ส่วนแบ่งตลาด 11.5%
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 50,639 คัน ลดลง 0.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 19,193 คัน เพิ่มขึ้น 9.7% ส่วนแบ่งตลาด 37.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 13,215 คัน เพิ่มขึ้น 2.1% ส่วนแบ่งตลาด 26.1%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,885 คัน ลดลง 14.5% ส่วนแบ่งตลาด 7.7%
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)
ปริมาณการขาย 40,335 คัน เพิ่มขึ้น 0.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 17,229 คัน เพิ่มขึ้น 15.7% ส่วนแบ่งตลาด 42.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 11,853 คัน ลดลง 0.1% ส่วนแบ่งตลาด 29.4%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,885 คัน ลดลง 14.5% ส่วนแบ่งตลาด 9.6%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง PPV: 4,906 คัน โตโยต้า 2,386 คัน – มิตซูบิชิ 1,148 คัน – อีซูซุ 735 คัน – ฟอร์ด 389 คัน – เชฟโรเลต 189 คัน– นิสสัน 59 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 35,429 คัน ลดลง 0.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 14,843 คัน เพิ่มขึ้น 15.2% ส่วนแบ่งตลาด 41.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 11,118 คัน เพิ่มขึ้น 1.6% ส่วนแบ่งตลาด 31.4%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 3,115 คัน ลดลง 30.7% ส่วนแบ่งตลาด 8.8%
ประมาณการสถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – มิถุนายน 2562
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 523,770 คัน เพิ่มขึ้น 7.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 171,502 คัน เพิ่มขึ้น 20.8% ส่วนแบ่งตลาด 32.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 89,177 คัน เพิ่มขึ้น 3.3% ส่วนแบ่งตลาด 17.0%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 64,699 คัน เพิ่มขึ้น 8.1% ส่วนแบ่งตลาด 12.4%
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 206,540 คัน เพิ่มขึ้น 8.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 60,350 คัน เพิ่มขึ้น 12.8% ส่วนแบ่งตลาด 29.2%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 48,889 คัน เพิ่มขึ้น 5.6% ส่วนแบ่งตลาด 23.7%
อันดับที่ 3 มาสด้า 25,826 คัน เพิ่มขึ้น 5.9% ส่วนแบ่งตลาด 12.5%
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 317,230 คัน เพิ่มขึ้น 6.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 111,152 คัน เพิ่มขึ้น 25.6% ส่วนแบ่งตลาด 35.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 89,177 คัน เพิ่มขึ้น 3.3% ส่วนแบ่งตลาด 28.1%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 26,883 คัน ลดลง 17.5% ส่วนแบ่งตลาด 8.5%
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 258,375 คัน เพิ่มขึ้น 8.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 99,206 คัน เพิ่มขึ้น 29.2% ส่วนแบ่งตลาด 38.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 81,964 คัน เพิ่มขึ้น 3.8% ส่วนแบ่งตลาด 31.7%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 26,882 คัน ลดลง 15.8% ส่วนแบ่งตลาด 10.4%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง PPV : 32,867 คัน โตโยต้า 14,400 คัน – มิตซูบิชิ 6,897 คัน – อีซูซุ 5,526 คัน – ฟอร์ด 3,497 คัน – เชฟโรเลต 1,746 คัน –นิสสัน 801 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 225,508 คัน เพิ่มขึ้น 8.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 84,806 คัน เพิ่มขึ้น 32.7% ส่วนแบ่งตลาด 37.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 76,438 คัน เพิ่มขึ้น 4.7% ส่วนแบ่งตลาด 33.9%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 23,385 คัน ลดลง 15.0% ส่วนแบ่งตลาด 10.4%
ติดตามข่าวสารรถยนต์รวดเร็วก่อนใครได้ที่ AUTODEFT.com