โตโยต้าปรับประมาณการตลาดรถยนต์ปี 2561 แนวโน้มตลาดดี คาดยอดขายรวม 980,000 คัน เพิ่มขึ้น 12%
- โดย : Autodeft
- 26 ก.ค. 61 00:00
- 6,048 อ่าน
มร.มิจิโนบุ ซึงาตะ เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด แถลงสถิติการจำหน่ายรถยนต์ครึ่งแรกของปี 2561 พร้อมปรับประมาณการตลาดรถยนต์ไทยปี 2561
มร.ซึงาตะ กล่าวว่า “ตลาด รถยนต์ ในครึ่งปีแรกของปี 2561 มียอดขายรวมอยู่ที่ 489,118 คัน เพิ่มขึ้น 19.3% ขอขอบคุณภาครัฐสำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนภายในประเทศ รวมถึงอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย ที่ทำให้ตลาดรถยนต์ในครึ่งปีแรกเติบโตเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีที่แล้ว”
สถิติการขายรถยนต์ ครึ่งแรกของปี 2561 ปริมาณการขาย (คัน) เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบ กับครึ่งปีแรกของ 2560
- ปริมาณการขายรวม 489,118 คัน +19.3%
- รถยนต์นั่ง 190,310 คัน +17.9%
- รถเพื่อการพาณิชย์ 298,808 คัน +20.2%
- รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถPPV) 237,429 คัน +18.1%
- รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถPPV) 207,405 คัน +20.2%
โดยโตโยต้ามียอดขาย 141,989 คัน เพิ่มขึ้น 26.2% แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 53,512 คัน เพิ่มขึ้น 18.5% รถเพื่อการพาณิชย์ 88,477 คัน เพิ่มขึ้น 31.4% และรถกระบะ 1 ตัน (รวมรถPPV) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยอดขายรถเพื่อการพาณิชย์ 76,758 คัน เพิ่มขึ้น 21.6%
มร.ซึงาตะ กล่าวว่า “สำหรับยอดขายโตโยต้าในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ที่ 141,989 คัน เพิ่มขึ้น 26.2% มีปัจจัยหลักมาจากกระแสการตอบรับที่ดีอย่างต่อเนื่อง จากการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาจนถึงต้นปีนี้ อาทิเช่น Yaris, Yaris ATIV, Hilux Revo ROCCO และ C-HR
สำหรับการส่งออกในครึ่งปีแรก โตโยต้าได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจำนวน 145,080 คัน เพิ่มขึ้น 7% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แม้ว่าสถานการณ์การส่งออกในตลาดตะวันออกกลางมีการปรับลดลง ขณะเดียวกันการส่งออกไปยังตลาดเอเชียและโอเชียเนียมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ประเทศญี่ปุ่นและออสเตรเลีย ซึ่งเราได้เริ่มต้นทำการส่งออกรถกระบะไฮลักซ์ไปยังประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้าญี่ปุ่น จนทำให้มียอดส่งออกสะสมจนถึงมิถุนายนปีนี้ รวมแล้วทั้งสิ้น 5,400 คัน ทั้งนี้ในครึ่งปีแรกการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปคิดเป็นมูลค่า 74,250 ล้านบาท และมีการส่งออกชิ้นส่วนมูลค่า 29,875 ล้านบาท รวมมูลค่าการส่งออกที่ 104,125 ล้านบาท และในส่วนของเป้าหมายการส่งออกในปี 2561 นั้น เราคาดการณ์ว่าปริมาณการส่งออกของโตโยต้ายังคงอยู่ที่ 300,000 คัน ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับปีที่ผ่านมา”
สำหรับแนวโน้มตลาดรถยนต์ของปี 2561 มร.ซึงาตะ คาดการณ์ว่า “จากการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่เติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าGDP จะเติบโตอยู่ที่ 4.4% ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวอย่างเห็นได้ชัด รวมถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจากภาครัฐ และดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ที่หลากหลาย รวมทั้งกิจกรรมส่งเสริมการตลาดต่างๆ จากค่ายรถยนต์ถือเป็นปัจจัยหลักในการกระตุ้นตลาดรถยนต์ โดยคาดการณ์ว่าตลาดรถยนต์โดยรวมในประเทศปี 2561 จะปรับจาก 900,000 คัน เป็น 980,000 คัน เพิ่มขึ้น 12.4% จากปีที่แล้ว”
ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศ ปี 2561
- ปริมาณการขายรวม 980,000 คัน เพิ่มขึ้น 12.4%
- รถยนต์นั่ง 381,000 คัน เพิ่มขึ้น 10%
- รถเพื่อการพาณิชย์ 599,000 คัน เพิ่มขึ้น 14%
- รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถPPV) 478,900 คัน เพิ่มขึ้น 12.9%
- รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถPPV) 418,000 คัน เพิ่มขึ้น 14.6%
มร.ซึงาตะ กล่าวเพิ่มเติมว่า “เนื่องจากตลาดรวมที่เติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราจึงปรับเป้าหมายการขายของโตโยต้าสำหรับตลาดในประเทศจาก 300,000 คัน เป็น 315,000 คัน เพิ่มขึ้น 31.2% จากปีที่แล้ว ดังนั้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ เราจะสร้างความแข็งแกร่งด้วยการเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้อง การของลูกค้าที่ดียิ่งขึ้น พร้อมมอบประสบการณ์ใหม่ ผ่าน“ALIVE SPACE” โชว์รูมรูปแบบใหม่ที่มีความทันสมัย ตอบรับกับ ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมทางการตลาดอีกมากมายที่เตรียมไว้ เพื่อแสดงความขอบคุณลูกค้าของเราในโอกาสฉลองความสำเร็จยอดการผลิตครบ 10 ล้านคัน ซึ่งเกิดจากความเชื่อมั่นและไว้วางใจผลิตภัณฑ์โตโยต้าของลูกค้าทุกคน”
ประมาณยอดขายรถยนต์ในประเทศของโตโยต้า ปี 2561
- ปริมาณการขายรวม 315,000 คัน เพิ่มขึ้น 31.2% ส่วนแบ่งตลาด 32.1%
- รถยนต์นั่ง 116,000 คัน เพิ่มขึ้น 20.1% ส่วนแบ่งตลาด 30.4%
- รถเพื่อการพาณิชย์ 199,000 คัน เพิ่มขึ้น 38.6% ส่วนแบ่งตลาด 33.2%
- รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถPPV) 171,300 คัน เพิ่มขึ้น 28.4% ส่วนแบ่งตลาด 35.8%
- รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถPPV) 145,000 คัน เพิ่มขึ้น 31.8% ส่วนแบ่งตลาด 34.7%
มร.ซึงาตะ กล่าวเพิ่มเติมว่า “นอกจากเป้าหมายทางด้านธุรกิจที่โตโยต้ามุ่งมั่นสร้างสรรค์ยนตรกรรมแห่งการขับเคลื่อนที่ดียิ่งกว่า (ever-better mobility) เรายังมีความตั้งใจที่จะดำเนินงานเพื่อสังคมให้ดียิ่งขึ้น (ever-better society) ผ่านกิจกรรมเพื่อสังคม อย่างโครงการที่ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยบนท้องถนน โตโยต้า ถนนสีขาว ครบรอบ 30 ปี ซึ่งมีแนวคิด “มุ่งเน้นการสร้างสังคมคนขับรถดี” โดยเน้นการพัฒนาทักษะการขับรถด้วยการจัดตั้งศูนย์พัฒนาศักยภาพผู้ขับขี่รถยนต์โตโยต้าที่ Toyota Driving Experience Park เพื่อสร้างสังคมผู้ขับขี่ที่ดี นอกจากนี้ยังได้พัฒนา ปรับปรุงถนนต้นแบบโดยการปรับลดจุดเสี่ยง เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุให้เป็นศูนย์บริเวณหน้าโรงงานโตโยต้าบ้านโพธิ์และเกตเวย์
เพื่อตอบรับกับ“พันธสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมของโตโยต้า พ.ศ. 2593” โดยหนึ่งในเป้าหมายสูงสุดคือการลดCO2 ให้เป็นศูนย์ เรายังได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการ “โตโยต้า เมืองสีเขียว” เริ่มต้นจากภายในโรงงาน เราใช้พลังงานทดแทนและระบบการจัดการของเสียที่ได้มาตรฐานระดับโลก อีกทั้งยังส่งเสริมการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพที่โรงงานบ้านโพธิ์ ซึ่งถือเป็นโรงงานที่มีระบบนิเวศแห่งความยั่งยืนแห่งแรกของโตโยต้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ยิ่งไปกว่านั้นเรายังส่งเสริมความร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นผ่านกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมภายนอกโรงงาน เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมแก่สังคมไทยผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิเช่น กิจกรรมลดเมืองร้อนด้วยมือเรา กิจกรรมปลูกป่าชายเลนและกิจกรรมปลูกป่านิเวศ ตลอดจนโครงการ “โตโยต้าเมืองสีเขียว อยุธยา” ศูนย์การเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมนอกโรงงานแห่งแรกที่จะเปิดในเดือนพฤศจิกายนนี้ และหนึ่งในองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม คือ การเดินทางอย่างยั่งยืน (Sustainable Transportation) เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยเชื่อมโยงกับสถานที่ท่องเที่ยวของอยุธยาด้วยรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก HA:MO
ซึ่งทั้งหมดนี้คือความมุ่งมั่นที่จะส่งมอบยนตรกรรมแห่งการขับเคลื่อนที่ดียิ่งกว่า (ever-better mobility) ให้กับคนไทยผ่านทางผลิตภัณฑ์และการบริการของเรา ภายใต้ปรัชญาการดำเนินธุรกิจของโตโยต้าที่ว่า “เราจะเติบโตควบคู่ไปกับสังคมไทย” มร.ซึงาตะกล่าวในที่สุด
ประมาณการปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมิถุนายน 2561
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 87,854 คัน เพิ่มขึ้น 25.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 27,814 คัน เพิ่มขึ้น 54.9% ส่วนแบ่งตลาด 31.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 12,947 คัน เพิ่มขึ้น 16.2% ส่วนแบ่งตลาด 14.7%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 10,549 คัน ลดลง 18.1% ส่วนแบ่งตลาด 12%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 37,131 คัน เพิ่มขึ้น 26.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 10,312 คัน เพิ่มขึ้น 38.2% ส่วนแบ่งตลาด 27.8%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 8,589 คัน ลดลง 4.8% ส่วนแบ่งตลาด 23.1%
อันดับที่ 3 มาสด้า 5,289 คัน เพิ่มขึ้น 78.6% ส่วนแบ่งตลาด 14.2%
3.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 50,723 คัน เพิ่มขึ้น 25.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 17,502 คัน เพิ่มขึ้น 66.8% ส่วนแบ่งตลาด 34.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 12,947 คัน เพิ่มขึ้น 16.2% ส่วนแบ่งตลาด 25.5%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 4,985 คัน เพิ่มขึ้น 12.2% ส่วนแบ่งตลาด 9.8%
4.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถ PPV)
ปริมาณการขาย 40,197 คัน เพิ่มขึ้น 29.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 14,891 คัน เพิ่มขึ้น 51.8% ส่วนแบ่งตลาด 37%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 11,859 คัน เพิ่มขึ้น 18.2% ส่วนแบ่งตลาด 29.5%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 4,948 คัน เพิ่มขึ้น 19.7% ส่วนแบ่งตลาด 12.3%
*ปริมาณการขายรถ PPV ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 4,536 คัน โตโยต้า 2,007 คัน – มิตซูบิชิ 1,055 คัน – อีซูซุ 914 คัน – ฟอร์ด 450 คัน – เชฟโรเลต 110 คัน
5.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 35,661 คัน เพิ่มขึ้น 36.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 12,884 คัน เพิ่มขึ้น 59.8% ส่วนแบ่งตลาด 36.1%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,945 คัน เพิ่มขึ้น 22.3% ส่วนแบ่งตลาด 30.7%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 4,498 คัน เพิ่มขึ้น 32.8% ส่วนแบ่งตลาด 12.6%
ประมาณการสถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – มิถุนายน 2561
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 489,118 คัน เพิ่มขึ้น 19.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 141,989 คัน เพิ่มขึ้น 26.2% ส่วนแบ่งตลาด 29%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 86,363 คัน เพิ่มขึ้น 12% ส่วนแบ่งตลาด 17.7%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 59,838 คัน ลดลง 2.6% ส่วนแบ่งตลาด 12.2%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 190,310 คัน เพิ่มขึ้น 17.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 53,512 คัน เพิ่มขึ้น 18.5% ส่วนแบ่งตลาด 28.1%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 46,287 คัน เพิ่มขึ้น 0.7% ส่วนแบ่งตลาด 24.3%
อันดับที่ 3 มาสด้า 24,378 คัน เพิ่มขึ้น 43.6% ส่วนแบ่งตลาด 12.8%
3.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 298,808 คัน เพิ่มขึ้น 20.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 88,477 คัน เพิ่มขึ้น 31.4% ส่วนแบ่งตลาด 29.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 86,363 คัน เพิ่มขึ้น 12% ส่วนแบ่งตลาด 28.9%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 32,574 คัน เพิ่มขึ้น 29.5% ส่วนแบ่งตลาด 10.9%
4.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถ PPV)
ปริมาณการขาย 237,429 คัน เพิ่มขึ้น 18.1%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 78,997 คัน เพิ่มขึ้น 12.2% ส่วนแบ่งตลาด 33.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 76,758 คัน เพิ่มขึ้น 21.6% ส่วนแบ่งตลาด 32.3%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 31,910 คัน เพิ่มขึ้น 33.6% ส่วนแบ่งตลาด 13.4%
*ปริมาณการขายรถ PPV ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 30,024 คัน โตโยต้า 12,850 คัน – มิตซูบิชิ 6,338 คัน – อีซูซุ 5,994 คัน – ฟอร์ด 4,394 คัน – เชฟโรเลต 448 คัน
5.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 207,405 คัน เพิ่มขึ้น 20.2%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 73,003 คัน เพิ่มขึ้น 13.7% ส่วนแบ่งตลาด 35.2%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 63,908 คัน เพิ่มขึ้น 22.5% ส่วนแบ่งตลาด 30.8%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 27,516 คัน เพิ่มขึ้น 35.7% ส่วนแบ่งตลาด 13.3%
ติดตามข่าวสารยานยนต์ รวดเร็วก่อนใคร ได้ที่ Autodeft.com