ยอดขายรถใหม่ 2564 ยังไม่ฟื้น ดันยอดได้แค่ 759,119 คัน ติดลบต่อเนื่อง 4.2% จากปัญหา Covid-19 และขาดแคลนชิปคอมพิวเตอร์
- โดย : พิสน ลีละหุต
- 28 ม.ค. 65 00:00
- 5,174 อ่าน
ปัญหาของยอดขายรถใหม่ยังไม่กระเตื้อง ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน โดยทำยอดรวมรถใหม่ปี 2564 ได้เพียง 759,119 คัน ลดลงจากปีก่อน 4.2% จากปัญหาเดิมคือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า Covid-19 แถมด้วยปัญหาใหม่คือการขาดแคลนชิปคอมพิวเตอร์อย่างหนักทั่วโลก
Toyota ในฐานะผู้ครองยอดขายสูงสุดประจำปี 2564 ได้ออกแถลงยอดขายสรุปประจำปี โดย มร. โนริอากิ ยามาชิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้กล่าวโดยสรุปว่า “อย่างที่ทุกท่านทราบกันดีว่าปี 2564 เป็นปีที่สถานการณ์โรคโควิด-19 ยังคงส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเกิดปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิต เช่น ปัญหาชิปขาดตลาด ด้วยเหตุนี้ ยอดขายรวมภายในประเทศจึงอยู่ที่ราว 759,119 คัน หรือลดลง 4.2% เมื่อเทียบกับปี 2563”
โดยในปี 2564 Toyota ยังคงครองแชมป์ยอดขายรวมทั้งหมดได้เช่นเคย แต่ก็ยังลดลงอยู่ ตามมาด้วย Isuzu ที่ปีนี้เป็นเพียงไม่กี่ยี่ห้อที่สามารถทำยอดขายเติบโตได้ ส่วน Honda นั้นตามมาเป็นอันดับที่ 3
ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 251,800 คัน ลดลง 8.4%
ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 507,319 คัน ลดลง 1.9%
ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 393,476 คัน ลดลง 3.9%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน : 52,024 คัน
โตโยต้า 22,862 คัน – อีซูซุ 16,439 คัน – มิตซูบิชิ 6,619 คัน – ฟอร์ด 5,025 คัน – นิสสัน 1,079 คัน
ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 341,452 คัน ลดลง 6.4%
มร. ยามาชิตะ เผยถึงยอดขายของโตโยต้าในปีที่ผ่านมาว่า “สำหรับยอดขายของโตโยต้าในปี 2564 นั้น ยอดขายรวมของเราอยู่ที่ประมาณ 239,723 คัน หรือลดลง 1.9% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และเรายังคงครองส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 หรือเท่ากับ 31.6% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมด ซึ่งหากว่ากันตามตรง ถือว่าต่ำกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ แต่ถ้าเราดูยอดขายของปีที่แล้วจะเห็นได้ว่าสถานการณ์ของเราเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นมา สืบเนื่องมาจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตแบบใหม่ เช่น การขายผ่านช่องทางออนไลน์ ถ้าเราลองดูที่ยอดขายของโตโยต้าในระหว่างช่วงไตรมาสที่ 2 ถึงไตรมาสที่ 4 จะเห็นได้ว่าส่วนแบ่งทางการตลาดของเราอยู่ที่ 32.5% ซึ่งเป็นระดับที่ไกล้เคียงกับในปี 2562 หรือช่วงก่อนที่โรคโควิด-19 จะระบาด โดยในส่วนของยอดขายของไฮลักซ์ รีโว่ นั้น มีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 39.1% ซึ่งสูงกว่าของปี 2562 ในขณะที่ เอทีฟ และ ยาริส นั้น ก็สามารถครองอันดับ 1 ในตลาดรถ อีโคคาร์"
“ในส่วนของตลาดรถยนต์อเนกประสงค์ โตโยต้ามียอดขายรวมทั้งปีเป็นอันดับ 1 ถึง 2 ปีซ้อน ด้วยยอดขายที่สูงเป็นประวัติการณ์ของโคโรลลา ครอส ส่วนฟอร์จูนเนอร์เองก็มียอดขายเป็นอันดับ 1 ในตลาดรถกระบะดัดแปลงต่อเนื่องมาเป็นเวลา 10 ปี ในขณะเดียวกัน คัมรี ก็ครองอันดับ 1 ในตลาดรถยนต์ขนาดกลาง ส่วนไฮเอซก็ครองอันดับ 1 ตลอดกาลเช่นกันสำหรับในตลาดรถตู้ ซึ่งเราขอแสดงความขอบคุณต่อลูกค้าคนสำคัญและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่ได้สนับสนุนเราเป็นอย่างดีเสมอมา”
สรุปยอดขายประจำเดือนธันวาคม 2564
ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 91,010 คัน ลดลง 12.6%
ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 31,917 คัน ลดลง 16.3%
ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 59,093 คัน ลดลง 10.4%
ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 42,785 คัน ลดลง 16.9%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 6,280 คัน
โตโยต้า 2,459 คัน – อีซูซุ 1,990 คัน – มิตซูบิชิ 872 คัน – ฟอร์ด 707 คัน – นิสสัน 252 คัน
ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 36,505 คัน ลดลง 17%
ติดตามข่าวสารรถยนต์รวดเร็วก่อนใครได้ที่ AUTODEFT.com