Deft Opinion : คนขี่สองล้อไม่ใช่ชนชั้นสอง นะเจ้านาย!!

  • โดย : Autodeft
  • 6 เม.ย. 59 00:00
  • 140,704 อ่าน

ดูเหมือนยังดราม่าไม่จบนะ เรื่องมอเตอร์ไซค์กับถนนเมืองไทย .. จนเกิดการก่อวอดทางสังคมของผู้ใช้มอเตอร์ไซค์นาทีนี้ไม่มีแล้วคำว่า รถใหญ่รถเล็ก เพราะโดนสิทธิเท่าเทียมกัน ทุกคนโดนจับเหมือนๆ กัน

 

ผมเองในฐานะผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์คนหนึ่ง ก็ยอมรับว่า การประกาศใหม่ล่าสุดนั้นส่งผลกระทบในเรื่องการใช้รถมอเตอร์ไซค์มากๆ การห้ามขึ้นสะพาน ลงอุโมงค์ กลายเป็นจุดบอดทำให้พาหนะที่น่าจะสะดวกโยธินนั้น ... กลายเป็นพาหนะที่ไม่สะดวกเลยในหลายๆถนน แถบางถนน ถ้าไม่ให้ขึ้นสะพาน ก็ต้องไปกลับรถ อ้อมไกลโข แถมตอนนี้ทำรถไฟฟ้าด้วย สรุปติดกว่าเดิม หรืออย่างตรงสามเหลี่ยมดินแดงไม่มุดอุโมงค์ไปอย่างไร  ... แล้วอย่างนี้เราจะใช้มอเตอร์ไซค์ทำไม อากาศเมืองไทยก็ร้อน กลับไปขับเก๋งนั่งสบายๆในห้องแอร์เหมือนเดิมน่าจะดีกว่า

แม้เราจะไม่ทราบสาเหตุที่ รัฐพยายามจำกัดสิทธิด้วยเหตุผลบางประการ เหตุผลที่เขาไม่ได้บอกประชาชน มันไม่ใช่เพียงคำอ้างว่า สะพาน/ อุโมงค์ไม่ได้รับการออกแบบมาตอบสนองการใช้มอเตอร์ไซค์ แต่การเลือกใช้พาหนะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ของคนไทย ที่สามารถทำได้

ปัจจุบันนักขี่หลายคนก็เป็นนักขับเช่นกัน บางคนแค่อยากกลับบ้านเร็ว ไม่อยากมานั่งแช่แป้งในรถเป็นเวลานาน สิทธิของเขา หรือเขา เลือกแล้วว่าจะโต้ลมทนร้อน  ยอมละทิ้งความสบาย เพิ่มพื้นที่ว่างบนถนน ก็ไม่วายหาเรื่องให้กลับไปใช้รถเก๋ง ให้รถมันติดหนักขึ้น ... คิดอะไรแปลกๆ

พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (บชน.) (อ้างอิงจาก  http://www.posttoday.com/analysis/report/424995 ) เผยว่า ข้อบังคับห้ามรถจักรยานยนต์ รถจักรยาน รถยนต์สามล้อ และล้อเลื่อนลากเข็นทุกชนิด วิ่งบนสะพานข้ามทางร่วมทางแยก 39 แห่ง และอุโมงค์ 6 แห่งในกรุงเทพฯ ออกมาทดลองใช้เป็นเวลา   90   วัน

โดยท่านได้กล่าวอย่างน่าสนใจ ว่า ปัจจุบันรถยนต์มีมากขึ้น และไม่มีช่องทางจัดไว้ให้สำหรับการใช้ความเร็วตำของบางพาหนะอย่างมอเตอร์ไซค์ รถจักรยาน หรือล้อเข็นลาก จนก่อให้เกิดปัญหาการจราจรมากมาย ซึ่งอาจจะสร้างความไม่สะดวกสบายในการเดินทางบ้าง แต่ก็มั่นใจว่าจะสร้างความปลอดภัย

“ที่ผ่านมาทราบว่า ข้อบังคับดังกล่าวสร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์บางส่วน แต่เส้นทางที่เรากำหนด ผ่านการศึกษามาอย่างรอบคอบแล้วทั้ง 39 เส้นทางและ 6 อุโมงค์ทางลอด รถจักรยานยนต์มีทางออกสามารถเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่นได้อาจเสียเวลาไปติดไฟแดงบ้าง แต่สามารถลดอุบัติเหตุได้เยอะ ทุกอย่างมีสองด้านเสมอ ในดีมีเสีย ในเสียมีดี ถ้าเราเอาเรื่องอุบัติเหตุเป็นที่ตั้ง ก็จำเป็นต้องสูญเสียความสะดวกสบายไปบ้าง อย่างไรก็ตาม จะประเมินอีกครั้งว่าเมื่อครบกำหนด อย่างไรก็ตาม จะประเมินอีกครั้งว่าเมื่อครบกำหนด 90 วันของการทดสอบแล้ว ผลที่ออกมาเป็นอย่างไร หากไม่ดี ไม่ประสบความสำเร็จก็พร้อมจะแก้ไข”

 

อะไรคือความปลอดภัย??? ในการใช้ถนน ....เรื่องนี้ผิดที่รถ ผิดที่คนใช้ หรือ ผิดที่สะพาน/อุโมงค์ ลักษณะเส้นทาง

 

หากมองให้ลึกลงไปแล้ว การสร้างสะพานข้ามแยก หรือ อุโมงค์ทางลอดข้ามแยก ถือว่าเป็นการอำนวยความสะดวกในการขับขี่สำหรับผู้สัญจรเส้นทาง ให้สามารถเดินทางต่อเนื่องตามเส้นทาง ลดการชะลอตัว หรือติดขัดของการจราจร ตามแยก หรือบริเวณที่สร้างอุโมงค์ดังกล่าว

ตัวอย่างสำคัญคงไม่พ้นสะพานแยกเกษตร ที่ถูกรื้อถอนไปแล้ว สะพานดังกล่าวถูกสร้างขึ้นเพื่อลดการจราจรติดขัดบนเส้นทางถนนพหลโยธินตั้งแต่ช่วงแยกรัชโยธินไปจนช่วงแยกเกษตรฯ และสามารถลดการจราจรได้เป็นอย่างดี ก่อนจะถูกรื้อถอนเพื่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว

โดยสะพานข้ามแยกส่วนใหญ่ในกรุงเทพมหานครเป็นนโยบายที่เกิดขึ้นในช่วงปี  พ.ศ.  2533 เพื่อแก้ไขปัญหารถติดในกรุงเทพมหานคร ....คำถามคือมันไม่ปลอดภัย ที่จะให้มอเตอร์ไซค์ใช้จริงหรือ ... อะไรคือข้อพิสูจน์!! ของการออกกฎข้อห้ามดังกล่าว

หรือความจริงแล้วสะพานออกแบบให้รองรับการใช้งาน ... อย่างเช่น สะพานไทย-เบลเยี่ยม มีช่องจราจรสำหรับรถมอเตอร์ไซค์ ใช้วิ่งได้ แต่ก็มาห้าม หรือ บางสะพาน-อุโมงค์ ที่ต้องใช้ขึ้นจริงๆ กลับห้าม แทนที่จะสร้างความปลอดภัยในการขับขี่ใช้รถ เช่น สะพานข้ามแยกรัชโยธิน . เนื่องจากใต้สะพานห้ามตรงมุ่งหน้าออกทางวิภาวดีรังสิต หรือ การห้าลงอุโมงค์เกษตร แล้วต้องไปกลับรถแทน กลับกลายเป็นการสร้างความปั่นป่วนวุ่นวายมากกว่า หรือไม่ !!

อย่างไรก็ดีในส่วนของสาพนที่มีความูงพิเศษ เช่น สะพานภูมิพล สะพานกรุงเทพ ตรงนี้ผมเห็นด้วย เพราะลมค่อนข้างแรงมาก เมื่อก่อนผมขี่ขึ้นสะพานกรุงเทพ 2  บ่อยพอสมควร เนื่องจากต้องตัดไปราชพฤกษ์ ยอมรับว่า ข้างบนลมแรงจริง เมื่อประกอบกับสะพานสูง รถมอเตอร์ไซค์เล็ก จะกลายเป็นตัวกีดขวางการจราจร เนื่องจากกำลังเครื่องมีไม่มาก แม้บิดหมดปลอก  110 ซีซี  ก็ยังขึ้นสะพานเหนื่อย ส่วนบิ๊กไบค์ค่อยมีปัญหา เพราะมีกำลังเทียบเท่าหรือมากกว่ารถเก๋ง จึงไม่อันตรายเท่ารถเล็ก

อย่างไรก็ดี การออกกฎมาบังคับใช้ตั้งแต่ปลายเดือนที่ผ่านมา สร้างมิติใหม่ของกระแสสังคมที่มีต่อกฎอย่างชัดเจน ในแม่ไม่เห็นด้วยในการใช้กฎดังกล่าว และเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องรีบกลับไปพิจารณาทันที ไม่ควรรอถึง 90  วัน ได้แก่

1. คนจะหันกลับมาใช้รถมากขึ้น โดยเฉพาะ กลุ่มผู้ขับบิ๊กไบค์ เพราะบิ๊กไบค์ เป็นรถมอเตอร์ไซค์ที่มีนอกเหนือจากรถยนต์ และใช้เมื่อต้องการเดินทางด้วยความเร็ว ซึ่งจะส่งผล คือทำให้รถติดมากขึ้นแน่นอน

2.ก่ออันตรายแก่เจ้าพนักงานและผู้ขับขี่มากขึ้น เนื่องจากตำรวจ ต้องมากวดขัน และโดยมากตั้งด่านช่วงขาลงสะพาน ดั่งภาพจาก  Post Today  ในรูป หรือตอนขึ้นมาจากอุโมงค์ ส่งผลให้อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ซึ่งต้องตั้งด่านปลายสะพาน และผู้ขับขี่ที่กระทำผิดกฎ... และอาจนำไปสู่อุบัติเหตุ

 

3.รัฐอาจสูญเสียรายได้บางส่วนอย่างถาวรในอนาคต เนื่องจากเริ่มมีการพูดถึงกฎหมายใหม่มากขึ้น และนำไปสุ่การเรียกร้องให้เสียภาษีประจำปีน้อยลงจากการบังคับกฎดังกล่าว ซึ่งประชาชนมีสิทธิเรียกร้องเนื่องจากการถูกจำกัดสิทธิ

4.เรื่องนี้ผมว่าสำคัญมาก ว่า การตรากฎหมายฉบับนี้ จะทำให้คนจำนวนหนึ่ง ที่กำลังมองหารถมอเตอร์ไซค์เพื่อความสะดวกในการเดินทาง จะตัดสินใจไม่ซื้อรถมอเตอร์ไซค์ เนื่องจากกฎหมายล่าสุดนี้ทำให้รถมอเตอร์ไซค์ขาดประโยชน์ทางด้านความสะดวกในการเดินทาง และหากยังบังคับใช้ตามระยะ เวลา  90  วัน ซึ่งจะส่งผลเข้าสู่ช่วงต้นฤดูฝน จะส่งผลกระทบยอดขายมอเตอร์ไซค์ในประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มรถขนาดใหญ่

และจากผลดังกล่าวที่มีต่อผู้จัดจำหน่าย จะมีผลต่อผู้ผลิต ไปยันผู้ผลิตชิ้นส่วน รวมถึงบรรดาร้านค้าที่จัดจำหน่ายอุปกรณณ์ตบแต่งรถมอเตอร์ไซค์

ผมไม่รุ้นะว่าเรื่องนี้จะจบลงอย่างไร แต่ผมในฐานะไบค์เกอร์ นักขี่คนมอเตอร์ไซค์ มองว่าเป็นการดีนะ ที่รัฐพยายามนึกถึงความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน โดยเฉพาะมอเตอร์ไซค์ที่มียอดอุบัติเหตุเสมอมา หากการทำให้รถมอเตอร์ไซค์มีความปลอดภัย ต้องมองถึงข้อเท็จจริงในการใช้งาน ของคนในสังคม...อย่าให้คนขี่มอเตอร์ไซค์เป็นชนชั้น 2  ...หรือถึงเวลาแล้วสำหรับการแก้กฎหมายจราจรอันคร่ำครึ ..ศึกษารูปแบบการใช้งานรถยนต์ที่แท้จริงในปัจจุบัน

 

 

เรื่องโดย ทีมงาน   Autodeft.com

ภาพบางส่วนจาก  Post today   และ เพจ Facebook

ติดตามข่าวสารยานยนต์ รวดเร็วก่อนใคร ได้ที่ Autodeft.com

5 เรื่องน่าสนใจ