ช่องเขา ขาดรำลึกเส้นทางรถไฟสายมรณะ
- โดย : Autodeft
- 20 ม.ค. 57 00:00
- 9,120 อ่าน
ถ้าคุณชอบประวัติศาสตร์ไม่อยากเดินทางไกล อยากแอบผจญภัยเล็กๆ ช่องเขาขาด เส้นทางเดินเท้าพร้อมประวัติศาสตร์เสน้ทางรถไฟสายมรณะ ที่กาญจนบุรี
เส้นทางรถไฟสายมรณะ เชื่อว่า หลายคนจะต้องรู้จักเส้นทางนี้ดี แม้สำหรับไทยอาจจะไม่มีอะไรสำคัญ นอกจาก ประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของการต่อสู้ในช่วงระหว่างสงครามโลก แต่กลับอีกหลายคนที่เป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางรถไฟสายอันตรายที่สุดที่ก่อสร้างโดยน้ำมือของญี่ปุ่น
ใครผ่านไปผ่านมาที่จังหวัดกาญจนบุรี ชอบประวัติศาสตร์ น่าควรจะแวะ “ช่องเขาชาด” อดีตที่หลงเหลือของกาลครั้งหนึ่ง เส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า ที่ยังคงมีบางส่วนให้เห็นถึงปัจจุบัน
ช่องเขาขาด หรือที่ฝรั่งเรียกว่า Hell Fire pass หมายถึง หุบเขาไฟนรก เป็นจุดหนึ่งที่มีความสำคัญในการสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะ ซึ่งตรงจุดที่เป็นช่องเขาขาดนี้ เดิมทีเป็นภูเขาหินและหุบเหว แต่เมื่อทางญี่ปุ่นต้องการเส้นทางรถไฟให้แล่นผ่านจากจุดนี้ไปสู่พม่าด้วยระยะทางที่สั้นที่สุดและยากต่อการจู่โจมของสัมพันธมิตร การสร้างทางรถไฟที่เรียกว่ายากที่สุดเส้นหนึ่งและหินที่สุดก็เป็นอีกหน้าประวัติศาสตร์ที่จดจำ
งานเจาะช่องเขาขาดเริ่มขึ้นในช่วงเดือนเมษายนปี พ.ศ. 2486 โดยใช้แรงงานเชลยสงครามของฝ่ายสัมพันธมิตร ที่ต้องมาสกัดภูเขาหินเพื่อสร้างทางรถไฟสู่พม่า โดยจุดที่ลึกที่สุดของช่องเขาขาดนั้นลึกถึง 11 เมตร และทั้งหมดทำด้วยมือพร้อมอุปกรณ์ช่วยเหลือนิดหน่อย
การต้องผจญกับไข้ป่า และการใช้แรงงานอย่างหนักหน่วย โดยเฉพาะช่วงไหนที่งานเร่งเชลยสงครามต้องทำงานหนักถึง 18 ชั่วโมงติดต่อกัน ยิ่งประกอบกับช่องเขาขาดอยู่ลึกไปในป่า ทำให้หลายครั้งขาดแคลนเสบียงและเวชภัณฑ์ หรือ บางครั้งได้มากก็แทบไม่พอยาไส้ของทหารญี่ปุ่นเอง ทำให้เชลยที่นี่ไม่ได้รับการดูแลเหมือนตกนรกทั้งเป็น และเป็นที่โจษจันในหมูนักโทษที่ถูกช่วยเหลือออกมาได้
พิพิธภัณท์ช่องเขาขาด ถูกสร้างขึ้น โดยเป็นความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลีย เพื่อนำเสนอเรื่องราวของช่องเขาขาด โดยนำเสนอข้อมูลความรู้ต่างๆ ทั้งยังมีมินิเธียเตอร์บรรยาย ตลอดรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ในยุคนั้น เอาไว้อย่างครบถ้วน โดยเปิดให้ชมฟรี ไม่คิดค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นศูนย์รวบรวมความรู้เกี่ยวกับเส้นทางรถไฟสายมรณะที่เลือนหายจากความทรงจำหลายๆคน
ปัจจุบันเส้นทางรถไฟที่นี่ถูกถอนออกไปแล้วแต่ยังเหลือความทรงจำด้วยหมอนรางรถไฟเอาไว้ให้ดูต่างหน้า ซึ่งสำหรับใครที่อยากรู้ว่าเส้นทางที่นี่อันตรายแค่ไหน คุณสามารถเดินชมเส้นทางที่อดีตเคยเป็นทางเดินรถไฟ ได้ ตั้งแต่ ตรงพิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด ไปจนถึงสถานีหินตก ซึ่งมีระยะทางเดินทั้งหมด 4 กิโลเมตร และระหว่างทางจะมีป้ายบอกเกี่ยวกับการสร้างทางรถไฟสุดแสนยากที่สุดในโลกเส้นนี้ ที่วันนี้เหลือเพียงความทรงจำ
ถึงบ้านเราอาจจะไม่อินกับช่องเขาขาดมากมายนัก แต่ช่องเขาขาดก็เป็นอีกสถานที่ควรค่าแก่การมาค้นหาและตามรอบประวัติศาสตร์ ยิ่งใครชอบเรื่องราวช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 รับรองว่า น่าจะถูกใจไม่น้อยเลยทีเดียวครับ
ติดตามข่าวสารยานยนต์ รวดเร็วก่อนใคร ได้ที่ Autodeft.com
[GALLERY239]