Thai Rung TR Transformer .... สัมผัสรถคนไทย น่าซื้อน่าใช้เหมือนกันนะ
- โดย : Autodeft
- 6 ต.ค. 56 00:00
- 40,642 อ่าน
มาพบบทดสอบรถยนต์โดยคนไทยเพื่อคนไทย Thai Rung TR Transformer ขาลุยมั่นใจขับดีทุกเส้นทาง
มองตลาดรถยนต์มายาวนานจนหลายครั้งตัวเอง กูตั้งคำถามว่า จะมีสักวันในช่วงชีวิตนี้ไหม ที่เราจะมีโอกาสได้เห็นรถยนต์ของคนไทยจริง รถยนต์ที่สร้างจากฝีมือคนในชาติเพื่อคนในชาติ ซึ่งพักหลังๆก็กลายเป็นประเด็นสำคัญ ใช่น้อยยิ่ง เราใกล้จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทำให้โอกาสที่รถยนต์ในบ้านราจะขจรไปไกลมีมากขึ้น แต่ทั้งหมด ก็เป็นเพียงรถยนต์จากฝีมือประกอบของคนไทย ไม่ใช่รถของคนไทยจริงๆ
ว่าแล้วในขณะที่คิดอยู่พลัน ก็มีเสียงรุ่นพี่ที่รู้จักพูดโต้มาว่า ทำไมจะไม่มีรถคนไทย ก็ “ไทยรุ่ง” ไง ??? ชื่อที่ผมลืมไปเสียสนิทว่าค่ายรถยนต์รายนี้ ก็ผลิตรถยนต์ออกมาขายตั้งแต่อดีต ในฐานะรถยนต์ดัดแปลง มาจนถึงปัจจุบันที่เขาได้ขยับไปอีกขั้นในการแปลง จนน่าจะพอเรียกได้แล้วว่า มันคือรถยนต์ของคนไทยจริงๆ
TR Transformer เป็นรถรุ่นล่าสุดที่เผยออกมา หลังจากที่ค่ายรถยนต์ไทยรุ่งตัดสินใจ แล้วว่าพวกเข้าจะเดินหน้าในการพัฒนารถยนต์ต่อไปในโดยที่เรียกว่า “ทรานส์ฟอร์เมอร์” ก็มาจากความสามารถในการปรับแต่งต่างๆมากมาย ของตัว จนสามารถเป็นได้ทุกอย่างตามที่ควรจะเป็น
เรือนร่างภายนอก TR Transformer ใช้ทรวดทรงเส้นสายการออกแบบที่เน้นความดุดันบึกบึน อย่าแปลกใจในเรื่องนั้น เพราะ มันเป็นการให้รายละเอียดที่สำคัญอย่างยิ่ง ความจริงผู้บริหารไทยรุ่งเผยกับเราอย่างตรงไหตรงมาว่า TR Transformer มีความตั้งใจที่จะผลิตเป็นรถยนต์เพื่อการทหารมากกว่านำมาขายในตลาดทั่วไป แต่เมื่อนำมาจัดแสดงก็พบว่า มีคนจำนวนมากสนใจ จึงเปิดตัววางขายสำหรับคนภายนอกที่สนใจด้วย
ทรวดทรงภายนอกเกือบทั้งหมดได้แนวคิดมาจากเรือนร่างใหญ่ยักษ์ที่เราคุ้นเคยกันดีมาจั้งแต่อดีตเมื่อพูดถึงรถยนต์ทหาร และใช่แล้ว มันคือ Hummer รถยนต์ที่ขึ้นชื่อเรื่องความสามารถในการรุยของมัน เมื่อบวกกับความคุ้นเคยเช่นเดียวกัน ว่าค่าย Jeep ก็คืออีกหนึ่งสุดยอด
แบรนด์ไทยรุ่ง จึงผสานทั้งสองมาอยู่ใน Tr Tranformer แล้วขัดความเป็นตัวตนแบบแข็งแกร่งบึกบึน จนต้องบอกกันแบบไม่อายปากว่ารถทั้งคันดูเหลี่ยมไปหมดทุกอณู ซึ่งแง่หนึ่ง ถ้าทำมาขายในตลาด ถ้าไม่ใช่สาวกลุย เชื่อได้เลยว่าทุกคนจะมองว่ารถยนต์คันนี้เชยระเบิด แต่กลับกัน ถ้าเป็นสาวกขาลุย อาจจะถูกใจได้เช่นกัน แต่ที่เราอยากเห็นเป็นเส้นสายการออกแบบของไทยรุ่งเองมากกว่า
ก้าวเข้าสู่ห้องโดยสาร TR Transformer ตอบสนองการนั่งที่ลงตัวเป็นอย่างยิ่งเกินคาด อย่าแปลกใจถ้าคุณจะเชื่อว่า TR Tranformer ทั้งหมดถูกผลิตบนพื้นฐานของรถยนต์กระบะประหยัดจิ๊บ จิ๊บ ที่คนไทยนิยมอย่างสูง Toyota Vigo ซึ่งค่ายไทยรุ่งมองว่าที่เลือก Vigo เพราะจะเป็นที่คุ้นเคยของคนไทย มากกว่า แต่พวกเขาก็ยังมองถึงการเลือกใช้โครงสร้างรถกระบะอื่นๆมาตอบโจทย์ใน TR Tranformer ด้วย เป็นออพชั่น ถ้าต้องการ ตั้งแต่ Isuzu D-max ไปยัน Ford Ranger กระบะที่ทุกคนหมายปอง
แม้จะเป็นเรือนร่างในจิตวิญญาณเดียวกับกระบะ แต่เมื่อเปิดประตู ที่หนักพอสมควร ผู้หญิงตัวเล็กๆบ่นกันอุบว่า เปิดยากชะมัด รวมถึง ตำแหน่งความสูงรถที่พอประมาณ ยังดีที่มีบันไดข้างพับเก็บไว้ แต่ก็ยังใช้งานยากอยู่พอสมควร ทำให้มันเป็นรถที่ดูเหมาะสำหรับคนถึก เน้นลุยตัวจริง
แต่เมื่อก้าวเข้าสู่ห้องโดยสารแล้ว ทุกอย่างเปลี่ยนไป สลัดคราบความเป็นกระบะไปเกือบหมด แม้จะมีหลงเหลือบ้างในแง่ของคอนโซลหน้า ซึ่งไทยรุ่นไม่ได้จัดทำขึ้นมาใหม่ ทว่ากลับยกเซทของ Toyota Vigo มาใช้ ซึ่งอาจะเพราง่ายต่อการจัดการบรรดาเรื่องสายไฟและระบบต่าง ดีกว่ามานั่งไล่เอง ซึ่งเสียทั้งเวลาและแรง จนกลายเป็นความฮาเล็กเพราตราที่พวงมาลัยพวกยังไม่ยอมเปลี่ยนเลย
ในเรื่องการนั่งเอง ทุกอย่างถูกทำขึ้นมาให้การตอบสนองในการขับขี่ที่ดี เบาะนั่งมีขนาดใหญ่พอสมควร นั่งได้อย่างสบายแต่ไม่ได้เน้นความกระชับ ทั้งที่แง่หนึ่ง แม้จะเกิดเป็นรถลุยก็สามารถใช้เบาะนั่งที่กระชับได้เช่นกัน ลองคือถึงการนั่งในทางตะลุยที่เอนซ้ายขวาไปมา เบาะนั่งทรงสปอร์ตก็เป็นทางออกที่ดีไม่น้อยในการตั้งคนขับและตุ๊กตาหน้ารถไม่ให้โยกไปมา จนหัวโขกกัน
ที่นั่งตอนหลังจัดว่าลงตัวพอสมควร แง่หนึ่งก็มาจากความต้องการให้เป็นรถยนต์ลุยที่นายมหาระดับสูงใช้ด้วย ทำให้ เรือนร่างของมันมีความกว้างมานั่งสบาย ถ้าเดินทาง 4 คนและยังสามารถจุได้มากกว่านั้นอีกพอสมควร ถ้าต้องการ ซึ่งถ้าคุณมีเพื่อตัวเล็กๆ ก็แทบจะยัดได้ 3-4 คนในเบาแถวหลัง ส่วนพื้นที่สัมภาระด้านหลังมีเหลือเฟือ สำหรับพ่อนักขน แต่จะขนของทางประตูหลังยังยากอยู่ ซึ่งความจริงเราขอเสนอไทยรุ่ง ลองพิจารณา ทำเบาะนั่งแถวที่ และปรับเบาะแถวสองให้ขึ้นลงง่ายขึ้น รับรองว่า มีหลายคนจะต้องชอบแน่ๆ และที่อยากให้จัดการอีกเรื่อง คือพยายามลดในแง่ของความเป็นสัจจะวัสดุ เปลือยมันทุกสิ่งอย่างลงไปอีกนิด จะดีมากๆ
ได้เวลาการขับขี่ TR Transformer งวดนี้ ผมรับเป็นไม้ที่สอง สำหรับการขับขี่เจ้ารถคันนี้ โดยเส้นทางที่เรียบง่ายจาก กทม. ออกสู่ปลายทางกาญจนบุรี เส้นทางสั้นๆที่ให้รายละเอียดของรถยนต์ได้อย่างดีเยี่ยม
เมื่อขึ้นนั่งหลังพวงมาลัย TR Tranformer ความรู้สึกแรกคงไม่พ้นความกว้างของรถที่เหนือชั้นอย่างมาก ด้วยระยะ 1,852 ม.ม. สามารถตอบโจทย์เรื่องความรู้สึกได้ดีมากกว่าที่คิด จนบางครั้ง เรารู้สึกว่ารถมีความกว้างมาก ออกจะเก้งก้างไปด้วยซ้ำ แต่เมื่อเข้าเกียร์เหยียบคลัทช์ออกเดินทาง ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป
ภายใต้เรือนร่างสุดบึกบึนอย่างที่เราได้กล่าวไปแล้วว่า TR Transformer ใช้โครงสร้างทั้งหมดจาก Toyota Vigo เครื่องยนต์ที่ใช้ขับเคลื่อนในรถคันนี้ ก็เลยเป็นบล็อกขุมพลังดีเซล 3.0 ลิตร ให้กำลังสูงสุด 163 แรงม้าที่ 3,400 รอบต่อนาที และให้แรงบิดสูงสุด 343 นิวตันเมตร ที่ 1,400-3,200 รอบต่อนาที ในรุ่นที่เราขับน่าเสียดายที่มีเฉพาะระบบเกียร์ธรรมดา 5 สปีด แต่ ไทยรุ่งเผยว่าพวกเขากำลังพิจารณาระบบเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีดในอนาคต อันใกล้นี้
เมื่อออกเดินทางตัวรถที่ถูกทำขึ้นมาบนโครงสร้างห้องโดยสารใหม่ ทั้งหมด ค่อนข้างมีความหนักอึ้งพอสมควร คุณสามารถสัมผัสได้จริงๆ เพรา แม้เครื่องยนต์ 163 แรงม้า จะพาเจ้า Vigo วิ่งฉิวปานจรวดทางเรียบ แต่กับ TR Transformer มันกลับไปเรื่อย เร่งเนิบๆ แบบเนียน จนหลายครั้งสำหรับคนชอบความเร็วต้องหาจังหวะชิงแซง น่าจะไม่ถูกใจสักเท่าไรนัก แต่ถ้าคุณเป็นคนที่ชอบขับรถเรื่อย ก็จะไม่มีปัญหาที่ต้องกังวล
ตัวรถที่หนัก อาจจะทำให้รถใช้ความเร็วมากไม่ได้ เราลองเหยียบดูเล่นๆ พบว่า ตั้งแต่ความเร็ว 130 ก.ม./ช.ม. ก็เริ่มไต่ความเร็วยากแล้ว ส่วนหนึ่งก็มาจากความหนักของตัวถังและการออกแบบที่ไม่ได้เน้นความลู่ลมเลยแม้แต่น้อย รวมถึงช่วงเนินต้องเช่นช่วยพอสมควร แต่ยังดีที่เครื่องยนต์มีแรงบิดมากพอสมควร ทว่าน้ำหนักรถที่มากก็ทำให้มันอาจจะเอื่อยได้ที่กลางเนิน
นาย ณัฐยศ ชูบรรจง นักขับทดสอบ Autodeft.com
อย่างไรก็ดีมีเรื่องหนึ่งที่ต้องซูฮกใน TR Transformer คือระบบช่วงล่างของรถที่ทำได้นิ่งเนียนเกินคาด ด้วยระบบช่วงล่างเดิมจาก Toyota Vigo ด้านหน้าเป็นแบบปีกนกอิสระสอง ชั้น พร้อมเหล็กกันโครงใช้ โช๊คอัพ แบบคอยย์สปริง ส่วนด้านหลัง ใช้แหนบแผ่นซ้อนพร้อมโช๊คอัพติดตั้งไขว้ทแยงมุมระหว่างกัน ซึ่งเมื่อขับขี่แล้วค่อนข้างมั่นใจกว่าเจ้ากระบะยอดนิยม จนถ้าไม่บอกว่ามาจากชุดโครงสร้างเดียวกัน ก็จะไม่เชื่อ
ไทยรุ่งเผยว่า พวกเขาพยายามอย่างหนักในเรื่องของระบบช่วงล่าง ที่ต้องนิ่งเนียนและให้การขับขี่ดีตลอดทุกเส้นทาง ซึ่งมีการปรับระบบโช๊คใหม่ยกเซท เพื่อสนองต่อความสามารถในการลุยเพิ่มด้วยไปในตัว
ช่วงระหว่างการขับขี่ระบบช่วงล่างที่นิ่งน่าจะมีเหตุอีกประการจากโครงสร้างตัวถังรถที่มีน้ำหนักกดทับมากขึ้น และความนิ่งก็ทำให้รถเกาะถนนแน่น มีอาการแกว่งตัวที่น้อยมากประดุจรถเก๋ง จนคนนั่งหลังพร้อยหลับได้อย่างสบาย เหมาะต่อการเป็นรถยนต์นั่งที่แม้จริง
หลังการขับขี่ TR Transformer หลายคนอาจจะมีมุมมองที่ต่างว่านี่มันรถดัดแปลงไม่ใช่รถยนต์ที่ผลิตโดยคนไทยอย่างแท้จริง ถามผมแง่หนึ่งก็ใช่ แต่เมื่อไม่มีเค้าเดิมเหลือแล้วมันก็ไม่ต่างจากรถคันใหม่ ซึ่งมีดีเรื่องสมรรถนะและการการลุย จะขาดก็แค่บางรายละเอียด ซึ่งไทยรุ่งต้องไปต่อยอดเพิ่มอีกหน่อยถ้าอยากทำรถตลาด ส่วนราคาเจ้า TR Transformer ฟังแล้วหลายคนอาจจะตกใจ เพรา เห็นเรือนร่างแบบนี้ มันราคาสูงถึง 1.485 ล้านบาท
เรื่องและขับทดสอบ โดย ณัฐยศ ชูบรรจง
นำเสนอบน Autodeft.com
ผลการทดสอบ TR Transformer
รถยนต์ ที่ทดสอบ TR Transformer
ราคาจำหน่าย 1,485,000 บาท
ตารางแสดงอัตราการทำงานของเครื่องยนต์
ความเร็วที่ขับขี่ (ก.ม./ช.ม.) |
รอบเครื่องยนต์ |
80 |
1500 |
90 |
1750 |
100 |
2050 |
110 |
2250 |
[GALLERY4]
ติดตามข่าวสารยานยนต์ รวดเร็วก่อนใคร ได้ที่ Autodeft.com