ABS คืออะไร ได้เวลามารู้จักเทคโนโลยีใกล้ตัวคุณ

  • โดย : Autodeft
  • 19 ม.ค. 57 00:00
  • 67,648 อ่าน

มาล้วงลูกรู้จักระบบเบรก ABS มันคืออะไร ใช้งานอย่างไร เทคโนโลยีคู่รถคุณที่ควรทราบอย่างยิ่ง

 

 

เรื่องโดย ณัฐยศ ชูบรรจง

ปัจจุบัน หันหน้าๆไปทางไหนรถยนต์ใหม่ๆ ก็เริ่มจะชูมาตรฐานวาปลอดภัยอกมาเป็นจุดขายเพื่อทำแต้มทางด้านราคาจำหน่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ระบบเบรก  ABS  หรือ  Anti lock Brake system ก้าวเข้ามามีบทบาทมาตรฐาน จนสามารถพูดได้มุกวันนี้แทบไม่มียานพาหนะรุ่นทั้ง 2 ล้อและ 4 ล้อ ที่ไม่ติดตั้งระบบเบรกชนิดนี้

ระบบเบรก  ABS  ไม่ใช่วิทยาการใหม่ของรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในปัจจุบัน เพราะระบบนี้มีมาสักระยะหนึ่งแล้ว แต่ช่วงหลายปีนี้มันเริ่มกลายเป็นมาตรฐานใหม่ทางด้านความปลอดภัย ซึ่งสามารถช่วยชีวิตคุณได้อย่างไม่น่าเชื่อ

ที่จริงต้องขอบคุณเทคโนโลยีทางด้านการบินที่คิดค้นระบบเบรก ABS  ขึ้น มา โดยเริ่มพัฒนาแนวคิดนี้มาตั้งแต่ปี 1929 ในยุคที่ดรัมเบรกเฟื่องฟู และค่อยเพิ่มความสามารถ เพื่อให้การหยุดความเร็วเครื่องบินมีประสิทธิภาพมากขึ้น จวบจน ปี 1960 ระบบเบรก  ABS  ก็เริ่มเข้ามามีบทบาทในอุตสาหรรมยานยนต์ โดยเริ่มจากในสนามแข่งก่อนที่จะแพร่สารถยนต์สำคนทั่วไป โดยค่าย Ford  ซึ่งแนะนในรถ  Ford Zodiac

แม้ค่ายวงรีสีน้ำเงินจะเป็นผู้นำ ต่ในยุคปัจจุบัน ระบบเบรก  ABS  กลับกำเนิดโดยค่าย Chrysler แนะนำภายใต้ชื่อ Sure brake  ก่อนที่ยักษ์ใหญ่ในอเมริกา General Motor  จะพัฒนาตามในปี 1971 ซึ่งปีเดียวกับที่ Nissan  เริ่มมีระบบที่คล้ายกันออกมา ใน Nissan President  และเป็นรถคันแรกจากฝั่งญี่ปุ่นที่มีระบบนี้ ส่วนในฝั่งมอเตอร์ไซค์ค่าย BMW  เป็นผู้เปิดเกม  ABS เริ่มแนะนำครั้งแรกในปี  1988

ถึงจะเป็นที่คุ้นเคยแต่น้อยคนนักที่จะทราบว่าระบบเบรก ABS  ทำงานอย่างไร ...

โดยทั่วไปแล้วระบบ ABS  ทำงานผ่านการสั่งการควบคุมโดยหน่วยประมวลผล ซึ่งล้อแต่ละล้อ จะมีเซ็นเซอร์ตรวจสอบความเร็วของล้อ และเบรกซึ่งมักจะมีขั้นต่ำสองวงจร เพื่อให้สามารถทำงานได้ เมื่อ ระบบพบค่าความเร็วล้อช้ากว่าล้ออื่น ระบบจะทำการปรับแรงกดเบรกในล้อนั้นๆ เพ่อให้น้ำหนักเบรกที่เหมาะ แต่ประเด็นหลักของ ABS  ไม่ได้อยู่ที่น้ำหนักของการใช้เหยียบเบรกหรือสมดุลในการหยุดรถไม่ให้เหวี่ยงซ้ายป้ายขวา  ทว่ากลับอยู่ที่การควบคุมที่มากกว่าในการขับขี่

ประเด็นหลักของระบบ ABS  ก็เหมือนชื่อมัน คือ ระบบจะไม่ห้ามล้อได้ โดยที่ล้อของรถคุณนั้นไม่ล๊อคตาย ทั้งหมดนั้นเป็นไปได้ด้วยระบบเบรกที่สั่งการให้ชุดปั้มเบรกทำงานอย่างรวดเร็วในการจับแล้วปล่อยระหว่างผ้าเบรกและจานเบรก ซึ่งใน 1  วินาที ชุดปั้มจะจับและปล่อยจำนวน 15 ครั้ง ทำให้นอกจากหยุดสั้นลงแล้ว ยังสามารถควบคุมทิศทางรถเพื่อหลีกเลี่ยงการชนหรือลดความเสียหายที่เกิดจากการชนได้ไม่มากก็น้อย

ด้วยระบบที่มีประสิทธิภาพทางด้านวิศวกรรม ทำให้ มันจึงกลายมาเป็นมาตรฐานใหม่ แต่ก็ยังมีน้อยคันนักที่รู้วิธีการใช้งานระบบเบรก ABS  อย่างถูกต้อง

ประการแรกที่สำคัญเลย คือ ระบบเบรก ABS  ทำงานผ่านชุดแป้นเบรกเพียงอย่างเดียว ไม่มีปุ่ม สวิทช์ หรือ อย่างอื่นอย่างใดเป็นตัวบ่งชี้หรือใช้ในการทำงานของระบบ  

เช่นเดียวกันระบบเบรก  ABS จะทำงานก็ต่อเมื่อ ผู้ขับขี่ใช้น้ำหนักเบรกที่มากกกว่าปกติ  ซึ่งหมายความว่าทุกครั้งที่คุณขับรถที่มีระบบเบรก ABS  เข้าระบบเบรกป้องกันล้อล็อคตายไม่ได้ทำงานทุกครั้งที่คุณยัดแป้นเบรกเพื่อหยุด แต่เมื่อคุณใช้น้ำหนักเบรกแรงกว่าปกติ ซึ่งโดยส่วนมาจะอยู่ประมาณ  80%  ของน้ำหนักเบรก ระบบจะเริ่มทำงานด้วยตัวเอง

เมื่อระบบ  ABS  เริ่มทำงาน สิ่งแรกที่สามารถสัมผัสได้คือจะมีครืดค่อนข้างดังซึ่งมาจากแรงดันน้ำมันเบรกที่มีมากสะสมอยู่ในท่อทางเดิน เนื่องจากปั้มเบรกกำลังทำงานทั้งจับและปล่อยไปพร้อมกัน ส่วนที่แป้นเบรกเองจะรู้สึกได้ถึงแรงสะท้านจากแบรกอาจจะสั่นสะเทือน หรือ บางคันอาจจะมีเหมือนอาจการตอดเท้า ...ตรงนี้ ไม่จำเป็นต้องตกใจ เพราะเป็นปกติเมื่อระบบ ABS  ทำงาน

**ตอนที่ระบบทำงาน แนวทางการใช้ระบบเบรก ABS  สามารถทำให้คุณควบคุมได้มั่นใจมากขึ้น ซึ่งหากการชนใกล้ตัวและคิดว่าสามารถหลบเลี่ยงได้ การใช้พวงมาลัยเพื่อควบคุมทิศทางรถ ยังคงเป็นไปได้  แต่แม้หลายคนจะทราบดีกว่าเป็นไปได้ แต่ก็มักจะเข้าผิด โดยการผ่อนแป้นเบรก หรือไม่เหยียบแป้นเบรกต่อ ซึ่งนั่นเป็นวิธีที่ผิด เพราะหลักการใช้ระบบเบรก ABS  ไม่ว่าคุณจะตัดสินใจทำอะไรเพิ่มเติมนั้นก็ยังคงต้องเหยียบเบรกในน้ำหนักเดิม เพราะทันทีที่ถอนออก ระบบเบรก ABS  จะไม่ทำงาน !!!  จุดนี้สำคัญมาก และหลายคนอาจจะไม่ทราบมาก่อน

 

ด้วยพัฒนาที่ก้าวหน้ามากขึ้นระบบเบรก ABS  ทุกวันนี้จึงหลายเป็นมาตรฐานใหม่ในรถยนต์ยุคปัจจุบัน แต่ ข้อสำคัญของเทคโนโลยีไม่ใช่เพียงอยู่ที่คุณมีระบบหรือ หากยังสำคัญที่จะใช้อย่างไรให้ถูกต้องและช่วยคุณได้ในยามคับขันด้วย...

 

เรื่องโดย ณัฐยศ ชูบรรจง

 

 

ติดตามข่าวสารยานยนต์ รวดเร็วก่อนใคร ได้ที่ Autodeft.com

 

5 เรื่องน่าสนใจ