5 เรื่องต้องระวัง เมื่อใช้ระบบเกียร์ออโต้... คุณเองอาจจะไม่เคยรู้มาก่อน
- โดย : Autodeft
- 4 ก.ค. 59 00:00
- 47,840 อ่าน
ความทันสมัยสะดวกสบายในทุกวันนี้ ทำให้เราหลายคนต่สงละเลยที่จะเรียนรู้ระบบอันอาจจะนำมาซึ่งความปลอดภัยในการใช้งาน หนึ่งในหลากเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของพวกเราหลายคน เมื่อกล่าวถึงเรื่องราวรถยนต์ ก็ไม่น่จะพ้นระบบเกียร์อัตโนมัติ หรือเกียร์ออโต้ จนนับวันเราแทบจะขับแต่รถแบบนี้กันเป็นประจำ และวันนี้ได้เวลาที่คุณมาเรียนรู้เพิ่มเติมว่ามีเรื่องอะไรต้องระวังในการใช้งานตัวเกียร์นี้บ้าง
[IMAGE1]
เกียร์ออโต้สร้างบนพื้นฐานความสะดวกสบาย มันไม่มีคลัทช์ เพียงอาศัยแค่โปรแกรมเกียร์ที่ผู้ขับขี่ต้องการเพื่อรถขับเคลื่อนเท่านั้น และความง่ายขอมันนี่เองบางครั้งก็เป็นหอกข้างแคร่ ที่อาจจะทให้วาระสุดท้ายของคุณมาถึงอย่างรวดเร็ว เหมือนที่เกิดเหตุการณ์มาแล้วหลายครั้งหลายคราวด้วยกัน โดยเฉพาะเหตุการณ์ล่าสุดกับดาราหนุ่ม จากภาพยนตร์เรื่อง Startrek จนเป็นข่าวที่ตีแผ่ไปทั่วโลก
1.ระวังให้ดีเกียร์ R ใกล้กับเกียร์ N
เรื่องแรกที่อยากเตือนเพื่อนๆทุกคนเลย คงไม่พ้นวางตำแหน่งคันเกียร์อัตโนมัติ ซึ่งทุกค่ายรถยนต์ส่วนใหญ่จะมีลักษณะการวางตำแหน่งต่างๆ คล้ายกันหมด ยกเว้นระบบเกียร์รุ่นใหม่แบบไฟฟ้า ที่อาจจะมีคุณลักษณะแตกต่างกันไปบ้างไม่มากก็น้อย
ตำแหน่งที่จัดวางเป็นแถวแนวเดียวกัน หลายครั้งอาจจะนำมาซึ่งอันตรายโดยเฉพาะตำแหน่งเกียร์ถอยหลัง ซึ่งจะวางอยู่ใต้ล่างตำแหน่งเกียร์ P เพื่อจอด แต่จะอยู่เหนือเกียร์ N (Neutral) ตำแหน่งกียร์ว่าง ซึ่งบางครั้งเราอาจจะสับพลาดไปยังเกียร์ N ได้ ถ้าคุณอยู่ในที่ธรรมดา มันก็คงไม่เท่าไรหรอก แต่ถ้าคุณอยู่บนทางลาดชันอะไรเทือกนั้น จะเสี่ยงมากต่ออาการรถไหลจนเกิดอุบัติเหตุ
2. อย่าเชื่อสัมผัสเรื่องตำแหน่งคันเกียร์
หลายคนมักจะประมาทจากความชินในการใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ตำแหน่งคันเกียร์ บ่อยครั้งที่เรามักจะได้ยินข่าวรถชนกัน โดยเฉพาะพวกร้านค้า แล้วท้ายสุด เจ้าของรถจะบอกว่า พวกเขาคิดว่าเข้าตำแหน่งเกียร์ถูกต้องแล้วทั้งที่มันผิดจนทำให้เกิดเหตุการณ์
การขึ้นตำแหน่งคันเกียร์เป็นสิ่งที่สำคัญมากในเกียร์อัตโนมัติ เพราะมันหมายถึงการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าหรือด้านหลัง โดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีปัญหาในยามเดินหน้า แต่เมื่อคุณต้องการถอยหลัง บางครั้งอาจจะเข้าตำแหน่งผิดได้ ดังนั้นจงตรวจสอบจากตัวบอกตำแหน่งเกียร์บนหน้าปัด ก่อนดำเนินการขับต่อไป
3อย่าเผลอเรอเรื่องเบรก
ในการขบัขี่เกียร์อัตโนมัติถ้าคุณอยู่ในตำแหน่ง D ในระหว่างการขับขี่ แตรถจอดติดหยุดนิ่ง จงจำไว้ว่าอย่าเผอเรอในการเหยียบเบรกโดยเด็ดขาด สิ่งที่หลายคนไม่ทราบก่อนหรืออาจจะทราบอยู่แล้วแต่มองข้าม คือเกียร์อัตโนมัตินั้นสามารถวิ่งได้เองทันทีเมื่อคุณเข้าตำแหน่งเกียร์ D และเบรกคือสิ่งเดียวที่ทำให้มันไม่วิ่งไปข้างหน้า และถ้าคุณเกิดปล่อยเบรกโดยไม่ตั้งใจหรือผ่อนน้ำหนักที่แป้นเบรกลงเล็กน้อย ถ้าแรงบิดมีมากพอ (ขึ้นอยู่กับกำลังเครื่องยนต์) เพียงเท่านี้คุณก็อาจจะได้สิทธิเรียกประกันทันที
4.จอดรถต้องดึงเบรกมือทุกครั้ง
ไม่แปลกที่เทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยในเรื่องความสะดวกสบาย และเราหลายคนต่างคิดว่ามันจะช่วยสร้างความปลอดภัยในการใช้งาน ในระบบเกียร์อัตโนมัติ เมื่อคุณจอดรถ จงจำไว้ว่าให้ขึ้นเบรกมือเสมอ เว้นในกรณีที่คุณจอดขวางรถยนต์คันอื่นในที่จอดรถ ...อย่าขึ้นเบรกมือ เพราอาจจะได้คำด่าตามหลังมาจากยามและเจ้าของรถคันอื่นที่ลำบากหาทางออกจากความสะเพร่าของคุณ
ที่ผมบอกให้คุณขึ้นเบรกมือทุกครั้งที่จอดรถเมื่อขับเกียร์อัตโนมัติ ก็เพื่อป้องกันเหตุไม่คาดฝันที่อาจจะเกิดขึ้น เช่นรถคุณไหลด้วยตัวเอง หรือคุณอาจจะพลาดท่าเข้าเกียร์ผิดตำแหน่งอะไร้ตามเบรกมือจะช่วยให้รถคุณสุ่มเสี่ยงน้อยลง หรือบางครั้งอาจจะหยุดยั้งหรือผ่อนจากหนักเป็นเบาได้
ดังนั้นจำไว้ว่า...ขึ้นเบรกมือทุกครั้งที่จอดรถเกียร์ออโต้ เพื่อความปลอดภัยของคุณเอง
5.อย่าทิ้งเด็กไว้ในรถเกียร์ออโต้โดยเด็ดขาด
บางทีอะไรที่ง่ายเกินไปก็ทำให้อันตรายได้อย่างไม่น่าเชื่อ มีเหตุการณ์แบบนี้มากมายแต่อาจจะไม่เป็นข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์บ่อยครั้งที่พ่อแม่ผู้ปกคองประมาททิ้งเด็กไว้บนรถ แล้วเด็กซนจนรถเกียร์ออโต้สามารถวิ่งได้เอง และก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงทั้งต่อเด็กและรถของคุณ
แม้ว่าเด็กอาจจะยังเป็นเด็ก แต่อย่าลืมครับว่า เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งที่คุณทำได้ โดยเฉพาะเด็กที่เริ่มโตแล้ว พวกเขาอยากจะรู้ลองทำสิ่งที่คุณทำตลอดเวลา และแน่นอนการขับรถเป็นสิ่งหนึ่งที่พวกเขาอยากทำ และสามารถเลียนแบบพฤติกรรมที่คุณทำประจำได้ อย่างเช่นการเข้าตำแหน่งเกียร์
เกียร์อัตโนมัติ ถึงแม้จะใช้ง่าย แต่ก็นำมาซึ่งอันตรายด้วยเช่นกัน และวันนี้ถ้าคุณควรศึกษาและระมัดระวังในการใช้รถเกียร์ออโตมากขึ้น เพื่อจะลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุระหว่างขับขี่
ติดตามข่าวสารยานยนต์ รวดเร็วก่อนใคร ได้ที่ Autodeft.com
เรื่อง โดย ณัฐยศ ชูบรรจง (Bonn)
ติดตามผู้สื่อข่าวและนักทดสอบรถยนต์ นาย ณัฐยศ ชูบรรจง ได้ที่ Facebook หรือ ทาง Fan page ,Twiter (@Nattayosc), Blog ส่วนตัว