ยางเก่าอันตราย อย่าวางใจ...!!!

  • โดย : Autodeft
  • 28 มี.ค. 57
  • 14,413 อ่าน

ยางเก่าอาจจะอันตรายกว่าที่คาด หลังจากดาราหนุ่ม Paul Walker เสียชีวิตในรถที่ใช้ยางเก่าถึง 9 ปี มารู้เท่าทันก่อนที่จะเป็นคุณ

 

 

เรื่องโดย ณัฐยศ ชูบรรจง  (Nattayod Chubanjong)

จบคดีเป็นที่เรียบร้อยสำหรับกรณีเสียชีวิตของดาราหนุ่ม Paul  Walker ที่สังเวยอุบัติเหตุจากการขับขี่ของเพื่อเขาหลังออกมาจากงานการกุศล ด้วยความเร็วสูง แต่ที่ตำรวจตั้งข้อสังเกตอีกประการคือรถ Porsche Carera GT  ใช้ยางที่ค่อนข้างเก่ามาก และมันมีอายุถึง 9 ปี

แม้จะไม่มีการยืนยันว่ายางเป็นสาเหตุที่ทำให้  Paul ถึงคาดหรือ ไม่แต่ยางรถยนต์เก่า ก็มักเป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุร้ายแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งยางเป็นสิ่งเดียวที่ยึดเหนี่ยวรถยนต์ไว้กับถนนและหมายถึงอำนาจการยึดเกาะของรถและประสิทธิภาพในการขับขี่ด้วย

ยางที่เก่าเกินไปนั้นมีแต่ข้อเสีย ประการแรกคือเนื้อยางจะแข็งทำให้ไม่มีการยึดเกาะพื้นผิว แม้จะได้ความร้อนจากการสัมผัสหน้ายางมาสักระยะหนึ่ง นั่นทำให้รถจะมีอาการลื่นเมื่อขับขี่ และหากคุณไม่ใช่นักขับหรือนักแข่งรถ มีโอกาสสูงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

นอกจากนี้ยางที่เก่าหมายถึงมีความเป็นไปได้สูงที่โครงสร้างภายในยางจะมีประสิทธิภาพด้อยลง อาจจะทำให้ยางเกิดแตกหรือระเบิดได้เมื่อมีการขับขี่เป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดความสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หากคุณต้องเดินทางไกลเป็นระยะเวลานานๆ

แม้ว่าจะไม่ค่อยมีใครพูดถึงยางเก่ามากนัก แต่ Consumer Report  นิตยสารผู้บริโภคในอเมริการะบุว่ายางรถยนต์ที่มีอายุกว่า 10 ปี นั้นไม่ควรจะนำมาใช้งาน ในขณะที่ผู้ผลิตรถยนต์หลายรายเปิดเผยว่า ยางรถยนต์ที่อายุมากกว่า  6 ปี เป็นยางที่ไม่ควรนำมาใช้งาน

แต่แม้ว่าเราหลายคนอาจจะไม่แน่ใจว่ายางรถยนต์ที่เราใช้งานมีความเหมาะสมหรือไม่  เราก็สามารถตรวจสอบเองได้ โดยเริ่มจากการที่คุณรู้เรื่องอายุของยางที่ใช้ โดยดุที่แก้มยาง ซึ่งจะมีชุดเลขวันที่ผลิตยางระบุเป็น 4 ตัว โดย 2 ตัวแรก คือ สัปดาห์ที่ยางผลิตในปีนั้นๆ ส่วน 2 ตัว หลัง คือ ปีที่ยางถูกผลิตขึ้น ซึ่งเมื่อทราบแล้ว ก็จะสามารถบอกได้ว่ายางคุณมีอายุมานานเท่าไร

หลังจากทราบปีที่ยางถูกผลิต ก็ต้องมาดูเนื้อยางว่ามีลักษณะใช้งานเป็นอย่างไรบ้าง เริ่มจากหน้ายางมีร่องรอยการกินยาง แบบไม่สมมาตรหรือไม่ เช่น ยางด้านในมีการกินมากกว่าด้านนอกหรือไม่  ต่อไปก็สำรวจเนื้อยางว่ามีอาการแข็งหรือไม่ เพราะถ้ายางแข็งก็ไม่มีประโยชน์ในการใช้งาน แต่ต้องพึงนึกว่ายางบางรุ่น โดยเฉพาะยางสปอร์ตมักจะมีเนื้อยางแน่นและแข็งมาก ผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศแนะนำว่าการทดสอบที่ดี คือ ให้ขับรถสักระยะ แล้วจอดตรวจสอบเนื้อยางอีกครั้ง ถ้ายังแข็ง ก็คงถึงคราวต้องเปลี่ยน

ท้ายสุด คือเนื้อยางที่เหลือในการใช้งาน จุดนี้สามารถสังเกตได้ง่ายจากสะพานยางหรือ จุดเชื่อมของยาง ซึ่งจะเป็นขีดขวางในหน้าสัมผัสยาง หากเนื้อยางคุณใกล้ถึงสะพานยางก็เตรียมตัวเปลี่ยนยางได้เลย เพราะ เนื้อยางที่น้อยหมายถึงโอกาสที่คุณจะลื่นไถลได้ง่าย รวมถึงร่องรีดน้ำยังลดลงทำให้ไม่เป็นผลดีในการขับขี่ โดยเฉพาะในหน้าฝน

เรื่องโดย ณัฐยศ ชูบรรจง  (Nattayod Chubanjong)

 

ติดตามข่าวสารยานยนต์ รวดเร็วก่อนใคร ได้ที่ Autodeft.com

5 เรื่องน่าสนใจ